Tuesday, 3 December 2024

จามจุรี หรือ ต้นฉำฉา (Samanea saman) ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ

จามจุรี หรือ ต้นฉำฉา (Samanea saman) เป็นพืชวงศ์ถั่ว ในวงศ์ Mimosaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ และในแถบยุโรป

ปัจจุบันมีการปลูกจามจุรีในประเทศเขตร้อนเกือบทั่วโลก ในประเทศไทยมีชื่อเรียกจามจุรีกันหลายอย่าง เช่น ต้นฉำฉา ก้ามปู ก้ามกุ้ง ถือเป็นไม้ยืนต้นเศรษฐกิจของไทยอีกชนิดหนึ่งเช่นกัน

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษของต้นจามจุรี หรือ ต้นฉำฉา

ต้นจามจุรี หรือ ต้นฉำฉา

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษของต้นจามจุรี หรือ ต้นฉำฉา ก็คือ Rain Tree ที่มาของชื่อนี้อาจเนื่องมาจากถ้าผ่านฤดูฝนครั้งหนึ่งๆ จามจุรีจะโตเร็วมากๆ เพราะเป็นต้นไม้ที่ชอบน้ำและความชุ่มชื้น เจริญเติบโตได้ดีในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก ฟิลิปปินส์ ไทย พม่า และมาเลเซีย

ลักษณะทั่วไปของจามจุรี :

  • ลำต้น : สูงประมาณ 15-20 เมตร แผ่พุ่มกว้างคล้ายกับร่มหรือหมวก โคนรากเป็นพูพอนแผ่ขยายกว้าง ลำต้นขรุขระมีเปลือกไม้สีน้ำตาล
  • ใบ : เหมือนขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีปลายใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างเป็นขนนุ่ม ขอบใบเรียบ
  • ดอก : มีสีเหลืองปนเขียว กลีบดอกเชื่อมติดกันเหมือนถ้วย ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุกแน่น
  • ผล : เป็นฝักแห้ง รูปขอบขนาน สีน้ำตาลดำ

ไม้ร่มที่ชื่อว่าจามจุรี

ลักษณะทั่วไปของจามจุรี :

จามจุรี เป็นไม้ประดับยืนต้นที่สวยงามและให้ร่มเงาได้ดี เพราะมีเรือนยอดแผ่กว้างและสูง จึงนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ร่มเงาตามทางเดินในสถานที่ที่มีบริเวณกว้างหรือสวนสาธารณะ ต้นจามจุรีเวลาออกดอกจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ทั้งในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน

จามจุรี เป็นไม้เนื้ออ่อนที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้มาก จึงมักนำมาทำเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมและหัตถกรรมไม้แทนไม้สัก ซึ่งในขณะนี้หายากและมีราคาแพง นิยมนำมาทำเป็นลังไม้ใส่สินค้า ที่เรียกกันว่า ลังไม้ฉำฉา เนื้อไม้มีแก่นสีดำคล้ำ มีลวดลายสวยงามโดดเด่น มีเงาแวววาว ลักษณะพิเศษของเนื้อไม้จามจุรี คือ มีกำลังดัดงอสูงมาก

ปลูกได้ง่ายขยายพันธุ์ได้เร็ว

ไม้ร่มที่ชื่อว่าจามจุรี

ปลูกได้ง่ายและขยายพันธุ์ได้เร็วนับว่าเป็นลักษณะเด่นอีกอย่างของจามจุรี เพราะเป็นต้นไม้ที่ไม่เลือกชนิดของดิน จึงเจริญเติบโตได้ทั่วไป รวมทั้งริมทะเล จามจุรีสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ผลจะแก่ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมกราคม มีการเก็บเมล็ดกันมากในช่วงนี้

จามจุรีในประเทศไทย

กล่าวกันว่ามิสเตอร์เอช เสลด (Mr. H. Slade) อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกของไทย เป็นคนนำพันธุ์จามจุรีมาจากประเทศพม่าเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2443 หรือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาได้แพร่หลายไปยังทั่วประเทศไทย

ประโยชน์ของต้นจามจุรี

ประโยชน์ของต้นจามจุรี

เนื้อไม้ ใช้นำมาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้างบ้าน ไม้ปูพื้น ไม้ฝ้า ไม้ผนัง คาน ขอบหน้าต่าง หน้าต่าง บานประตู และที่สำคัญนิยมใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้หลายชนิด เนื่องจากมีลายไม้ที่สวยงาม และเนื้อไม้แข็งแรง เช่น ทำโต๊ะ เก้าอี้ ตู้เสื้อผ้า เป็นต้น

เปลือกต้น ป่นละเอียดเป็นยาสมานแผล เปลือกต้นและเมล็ดรักษาอาการบิด ท้องเสีย ได้

กิ่งอ่อนของต้นจามจุรี มีเยื่อเปลือกอ่อนที่เป็นอาหารของครั่ง จึงนิยมปลูกสำหรับปล่อยเลี้ยงครั่ง ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก

ใบ แก้ปวดแสบปวดร้อน นอกจากนั้นแล้วใบจามจุรียังมีสารอาหารหลายชนิดจึงนิยมนำมาเป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย สุกร แพะ แกะ อีกด้วย

เมล็ด แก้โรคผิวหนังเปลือกสมานแผลในปากคอ แก้ท้องร่วง

ฝักแก่ของจามจุรี เราสามารถนำเอาเมล็ดและเปลือกออก เหลือเฉพาะเนื้อฝักใช้รับประทานเป็นอาหารได้ ให้รสหอมหวานมาก รวมถึงนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มก็ได้ เป็นอาหารสัตว์ก็ได้

คุณค่าทางอาหารของฝักจามจุรี

คุณค่าทางอาหารของฝัก และเมล็ดแก่ (อ้างอิงข้อมูลจาก : puechkaset) :

ฝักแห้ง
– ฝักไม่มีเมล็ด 81.51%
– เมล็ด 86.50%

เถ้า
– ฝักไม่มีเมล็ด 4.01%
– เมล็ด 4.30%

เส้นใย
– ฝักไม่มีเมล็ด 9.43%
– เมล็ด 14.00%

โปรตีน
– ฝักไม่มีเมล็ด 9.64%
– เมล็ด 31.6%

อ้างอิง : royalparkrajapruek,wikipedia