Thursday, 21 November 2024

เจอเรเนียม หรือ ปากนกกระเรียน (Geranium) ไม้ดอกกลิ่นหอมไล่ยุง

เจอเรเนียม หรือ ปากนกกระเรียน (Geranium) เป็นชื่อที่ใช้เรียกไม้ในสกุลเพอลาร์โกเนียม (Pelargonium) สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ชนิดที่มีใบเหมือนไอวี่ ซึ่งมีชื่อเรียกทั่วไปว่า เจอเรเนี่ยมใบไอวี่ (ivy-leaved geranium) เจอเรเนียมรีกัล (regal) โดยทั่วไปจะหมายถึงต้นเพอลาร์โกเนียม (pelargonium) และ โซเนล (zonel)

โดยปกติจะหมายถึง เจอเรเนียม (zonal geranuim) ถึงแม้ว่าจะมีชื่อสามัญที่แตกต่างออกไป แต่ทุกประเภทก็จัดอยู่ในจำพวกเพอลาร์โกเนียม ต้นเจอเรเนียมนี้จะมองดูบอบบางมากกว่าและมีดอกที่น่าดูน้อยกว่าเพอลาร์โกเนียมพันธุ์แท้ๆ

เจอเรเนียม หรือ ปากนกกระเรียน

เจอเรเนียม หรือ ปากนกกระเรียน
ภาพโดย İsmet Şahin จาก Pixabay

คำว่า pelargonium มาจากคำกรีกว่า pelargos หมายถึง นกจำพวกนกตะกรุม และ นกกระสา อาจจะมาจากรูปร่างฝักของเจอเรเนียมที่คล้ายกับปากของนกจำพวกนี้ จึงเรียกดอกไม้ชนิดนี้ว่า ปากนกกระเรียน

เมื่อคุณเลือกที่จะซื้อต้นเพอลาร์โกเนียม ให้มองหาต้นที่ดูแข็งแรงและมีดอกตูมที่เริ่มบานแล้วสัก 1-2 ดอก เพราะว่าคุณจะมองเห็นสีดอกของมันและเลือกเฉดสีได้ตรงกับความต้องการของคุณ

ต้นเพอลาร์โกเนียมพันธุ์ที่มีใบเหมือนไอวี่ (หรือที่เรียกกันว่า ไอวี่เจอเรเนียม) จะปกคลุมรั้วลวดหนามอย่างรวดเร็ว และให้สีสันที่สวยงามเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงแดด ยกเว้นในที่ที่มีอากาศหนาวมาก คุณอาจจะเลือกสายพันธุ์ที่เก่าแก่และเติบโตได้อย่างดีอย่าง มาดามครูซเซ่ (Madam Crousse) ซึ่งเป็นชนิดดอกซ้อนสีชมพูและอาจเป็นชนิดที่แข็งแรงที่สุดในหมู่ไอวี่เจอเรเนียม

กลิ่นหอมจากเพอลาร์โกเนียม

กลิ่นหอมจากเพอลาร์โกเนียม
ภาพโดย hangela จาก Pixabay

ในต่างประเทศให้ใบของเพอลาร์โกเนียมที่มีกลิ่นหอมเพื่อมาทำเป็นเครื่องหอม หรือ ถุงหอม เราอาจนำใบมาชุบเจลลี่หรือแยมผลไม้เพื่อให้มีกลิ่นหอมได้ และใบยังดูเป็นผลึกใสอีกด้วย สำหรับใช้ประดับหน้าเค้ก หรือ ตกแต่งจานชีส สตูว์ หรือซุปควรเก็บใบก่อนที่ดอกจะบาน ในจำพวกใบที่ดีที่สุดที่เหมาะแก่การนำมาใช้ทั้งแบบแห้งหรือสด ได้แก่

สายพันธุ์กลิ่น
Pelargonium capitatum
P. Fragrans Group
P. ‘Graveolen’
P. tomentosem
P.odoratissimum
P. praemorsum
‘Prince of orange’
P. quercifolium
P. radens
กุหลาบ
ลูกจันทน์เทศ ซึ่งมีกลิ่นต้นสนผสมอยู่
สะระเหน่

แอปเปิ้ล
ส้ม

กำยาน
กุหลาบ-มะนาว

ลาฟรองซ์ (La France) ที่มีดอกซ้อนสีม่วงอ่อน หรือ ไฟว์ดราก้อน (Fire Dragon) ที่มีดอกสีแดง พยายามดัดให้ต้นเลื้อยไปตามลวด โดยปกติแล้วต้นเพอลาร์โกเนียมเป็นไม้ที่ดูแลง่ายไม่ยุ่งยากและต้องการการใส่ใจน้อยกว่าไม้ชนิดอื่นที่ต้องคอยตัดแต่งกิ่งก้านหรือเอาดอกที่แห้งออก การให้ปุ๋ยแก่ต้นเพอลาร์โกเนียมจะช่วยให้ต้นออกดอกที่มีสีสันบานสะพรั่งและจะบานไปเรื่อยตั้งแต่เพาะจนถึงออกดอกประมาณ 90-100 วัน

เพอลาร์โกเนียมสายพันธุ์ผสม

เพอลาร์โกเนียมพันธุ์ที่ดีที่สุดสำหรับตะกร้าปลูกไม้แขวนและกระบะปลูกต้นไม้ริมหน้าต่างก็คือ พันธุ์ผสม เอฟวัน ไฮบริด แคสแคดดิง (F1 hybrid cascading) เช่น เบรคอเวย์ เรด (Breakaway Red) และเบรคอเวย์ แซลมอน (Breakaway Salmon)

การดูแลต้นเจอเรเนียม

เพอลาร์โกเนียมมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ฉะนั้นจึงไม่ชอบน้ำมากเกินไป ควรรดน้ำเมื่อผิวหน้าดินในประถางแห้งเท่านั้น และเพื่อกระตุ้นให้เพอลาร์โกเนียมออกดอก ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงสักเล็กน้อยลงไปในน้ำ

การดูแลต้นเจอเรเนียม
ภาพโดย Lena Svensson จาก Pixabay

ส่วนใหญ่แล้วเพอลาร์โกเนียมจะเจริญเติบโตได้ดี แม้ว่าจะถูกทิ้งไว้ปล่อยปละละเลย แต่การตัดแต่งต้นบ้างก็มีผลดีมากมายในช่วงที่ดอกเริ่มโรยลา ในช่วงนี้ให้ตัดกิ่งก้านที่ตายหรือเป็นโรคทิ้งเสีย และควรตัดกิ่งก้านที่แข็งแรงออกบ้างอย่างน้อยประมาณหนึ่งในสาม เวลาตัดให้ตัดเหนือตา (ข้อต่อบนกิ่ง) กิ่งแข็งแรงที่ตัดออกนี้ เราสามารถนำมาปักชำเพื่อให้เกิดต้นใหม่ในสวนหรือนำมาแบ่งปันให้กับเพื่อนๆได้ เมื่อต้นใหม่เริ่มเติบโตให้เด็ดยอดทิ้งบ้างจะทำให้ต้นแตกพุ่มแน่นขึ้น และในช่วงหน้าร้อนหลังจากที่ต้นออกดอกเต็มที่แล้วคุณก็ควรตัดแต่งกิ่งต้นบ้างเล็กน้อยด้วย

การดูแลต้นเพอลาร์โกเนียมในกระถางตลอดช่วงฤดูหนาว สำหรับในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นนั้นให้ตัดกิ่งก้านออกครึ่งหนึ่งและวางไว้ที่ที่ไม่โดนลมหนาว ให้น้ำแต่น้อยแค่พอไม่ให้ต้นแห้งเหี่ยวและเด็ดใบที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทิ้งบ้าง รอจนถึงช่วงปลายฤดูหนาวจึงค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อย

เมื่อดอกเพอลาร์โกเนียมเริ่มโรยลา ควรเด็ดทิ้งเสีย โดยหักก้านดอกหรือดึงก้านลงด้านล่างอย่างนุ่มนวล การเด็ดดอกแห้งทิ้งเป็นประจำจะทำให้ต้นน่ามองมากขึ้นและกระตุ้นให้ออกดอกใหม่เรื่อยๆ เพราะการเด็ดดอกทิ้งนั้น พลังงานที่จำเป็นสำหรับการสร้างเมล็ดจะแปรไปสู่กระบานการผลิตดอกใหม่

การปักชำเจอเรเนียม

การปักชำเจอเรเนียม
ภาพโดย congerdesign จาก Pixabay

ด้วยรูปลักษณะของต้นเจอเรนียมหรือเพอลาร์โกเนียมนี้ ทำให้ง่ายต่อการขยายพันธุ์โดยการปักชำ และการปักชำนี้ก็เป็นวิธีที่ดีสำหรับการจัดตกแต่งสวนใหม่โดยไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ การปักชำสามารถทำได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะคือก่อนเข้าฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เราต้องเริ่มตัดแต่งกิ่งพอดี

ให้เลือกกิ่งที่แข็งแรงและไม่มีดอก จากนั้นตัดตรงส่วนใต้ข้อต่อใบอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้กิ่งช้ำ กิ่งที่ได้นี้ควรยาวประมาณ 10 เซนติเมตร และมีอย่างน้อย 2 ข้อตา เด็ดใบล่างๆทิ้งไปบ้าง นำกิ่งที่เลือกแล้วมา 5-6 กิ่ง ปักลงไปรอบๆกระถางซึ่งบรรจุส่วนผสมหยาบๆที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช (พีทและทรายละเอียด ในอัตราส่วน 50:50)

รดน้ำให้ทั่วกระถางแล้วคลุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและความอบอุ่น หลังจากนั้นประมาณ 2-3 อาทิตย์ กิ่งที่ปักชำไว้จะเริ่มตั้งหลักได้และมีแรงต้านจากการดึงเบาๆ และอาจเห็นรากสีขาวงอกทะลุออกมาทางรูระบายน้ำ ต่อไปก็ให้ย้ายต้นไปไว้ในกระถางซึ่งมีดินผสมอยู่ประมาณ 10 เซนติเมตร

ถ้าคุณเริ่มปักชำ คุณจะได้ชื่นชมความงามของดอกในระยะเวลาประมาณ 90-100 วัน

ลักษณะของต้นเจอเรนียมหรือเพอลาร์โกเนียม
ภาพโดย John Lee จาก Pixabay

และที่สำคัญ ! อย่าพยายามใช้ฮอร์โมนเร่งรากไม่ว่าจะเป็นชนิดผง เจล หรือ น้ำยาอื่นใดกับกิ่งปักชำของเพอลาร์โกเนียม เพราะมีการค้นพบว่าฮอร์โมนในสารเหล่านี้จะไปยับยั้งการเกิดรากของเพอลาร์โกเนียม