Thursday, 12 December 2024

9 วิธีตักเตือนลูกๆโดยไม่ทำลายความนับถือตนเองของพวกเขา

9 วิธีตักเตือนลูกๆโดยไม่ทำลายความนับถือตนเองของพวกเขา – เราทุกคนต่างต้องการให้ลูกๆ เติบโตด้วยความรู้สึกมั่นใจและรู้สึกดีกับตัวเอง ดังนั้น เราอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการสั่งสอนพวกเขาในบางสิ่งบางอย่าง เพราะกลัวว่าจะทำให้พวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่สะดวกใจที่จะเปิดใจกับเรา

แต่การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นมันจึงเป็นการดีที่จะหาจุดกึ่งกลางระหว่างกัน และวิธีการจัดการที่มีประโยชน์วิธีหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายนี้เรียกว่า “การวิพากษ์วิจารณ์อย่างนุ่มนวล”

เราเลยต้องการช่วยให้คุณและลูกๆ รู้สึกมีความสุขและมั่นใจ ดังนั้นลองอ่านคำแนะนำที่ได้รับการสนับสนุนจากวิทยาศาสตร์เพื่อเตือนลูก ๆ ของคุณโดยไม่ส่งผลเสียต่อความนับถือตนเองของพวกเขา

วิธีตักเตือนลูกๆโดยไม่ทำลายความนับถือตนเอง

1.เสนอทางเลือกทางความคิดและอธิบายถึงปัญหา

9 วิธีตักเตือนลูกๆโดยไม่ทำลายความนับถือตนเองของพวกเขา

คุณสามารถเริ่มบทสนทนาอย่างใจเย็นด้วยบางอย่างเช่น “แม่รู้ว่าลูกไม่ได้ตั้งใจ…”

สิ่งนี้แสดงให้ลูกของคุณเห็นว่า คุณรู้ว่าพวกเขามีความตั้งใจดี แม้จะผิดพลาดก็ตาม จากนั้นคุณสามารถเพิ่มเติม ด้วยคำว่า “แต่” และอธิบายผลกระทบของพฤติกรรมของพวกเขาได้

การมุ่งเน้นที่การกระทำของพวกเขา ว่ามันจะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร เตือนพวกเขาว่าพวกเขาไม่ใช่คนไม่ดี แต่ให้พยายามกระตุ้นให้พวกเขาคิดอย่างรอบคอบมากขึ้นเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากพฤติกรรมของพวกเขาในอนาคต

2.สอนพวกเขาให้ก้าวไปข้างหน้า

สอนพวกเขาให้ก้าวไปข้างหน้า

พยายามอย่าให้เด็กๆจมอยู่กับอดีต – เด็ก ๆ ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขสิ่งที่พวกเขาทำลงไปได้ พ่อแม่อย่างเราก็เช่นกัน ดังนั้นการเตือนพวกเขาอย่างต่อเนื่องอาจทำให้พวกเขารู้สึกแย่กับตัวเอง

คุณสามารถช่วยพวกเขาวางแผนว่า พวกเขาจะทำอะไรให้ถูกต้องได้ ถามคำถาม อย่างเช่นว่า “คุณทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น” เพราะมันสามารถช่วยให้พวกเขาชินกับการคิดว่าจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างไร

3.สอนให้เขารู้จักการแก้ปัญหา

สอนให้เขารู้จักการแก้ปัญหา

ข้อถัดไป คุณสามารถแนะนำบุตรหลานของคุณอย่างอดทนเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ของพวกเขาได้

คุณกำลังช่วยให้พวกเขาขยายความคิดด้วยการเสนอมุมมองที่แตกต่างกัน สิ่งนี้มีประโยชน์จริง ๆ ในการจัดการกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาซ้ำซากสำหรับบุตรหลานของคุณ

จากนั้นเมื่อวิธีแก้ปัญหาของพวกเขาได้ผล คุณสามารถชมเชยพวกเขาได้ — เพื่อเป็นการเสริมความเชื่อมั่นในตัวเองให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาแก้ปัญหาได้สำเร็จ!

4.อย่าพยายามยัดเยียดคำพูดที่ไม่ดีกับพวกเขา

หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดเดิมซ้ำๆ

การพูดสิ่งต่างๆ เช่น “ลูกซนเหลือเกินนะ” หรือ “ทำไมลูกขี้เกียจแบบนี้”

เราสามารถเปลี่ยนวิธีที่ลูกมองตัวเองได้ และเด็กที่คิดว่าตนเองไม่ดีมักจะประพฤติตัวไม่เหมาะสม ให้แยกพฤติกรรมของเขาออกจากความเป็นตัวตนของเขา เตือนพวกเขาว่าพวกเขาสามารถเป็นเด็กดีได้ รู้จักเลือกที่จะทำในสิ่งที่ดีและไม่ดีได้

5.ฟังในสิ่งที่ลูกต้องการพูด

ฟังในสิ่งที่ลูกต้องการพูด

สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้ความสนใจและแสดงให้เห็นว่าคุณห่วงใยบุตรหลานของคุณ ฟังพวกเขาขณะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น

วิธีนี้ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสังเกตรูปแบบต่างๆ สังเกตพฤติกรรมของลูก — หากพวกเขาแสดงท่าทีดื้อดึงอยู่เสมอ นี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะพูดคุยถึงความรู้สึกและกลไกการเผชิญปัญหาของพวกเขา

6.ทำให้พวกเขาเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ทำให้พวกเขาเรียนรู้ด้วยตัวเอง

เน้นการสร้างวินัยให้กับเด็กๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ไม่ใช่การลงโทษ ให้กับผลที่ตามมาจากการกระทำของพวกเขา และอธิบายให้พวกเขาฟังว่านั่นก็เพื่อที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ที่จะไม่ทำอย่างนั้นอีก สร้างความมั่นใจให้พวกเขาว่ารู้สึกว่าตัวเองมีโอกาสที่จะพยายามทำให้ดีขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ เมื่อยากที่จะระบุตัวผู้กระทำความผิด เราจำเป็นต้องลงโทษทุกคนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการแยกเด็กออกคนเดียวอาจทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนตกเป็นเหยื่อ ซึ่งนั้นจะทำให้เขาจมอยู่กับสิ่งผิดพลาดขึ้นไปอีก

7.ห้ามตะโกนหรือใช้คำหยาบ

ห้ามตะโกนหรือใช้คำหยาบ

การวิจัยพบว่า การตะโกนทำให้เด็กรู้สึกกลัวและไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้ และการดูถูกเด็กอาจส่งผลกระทบในระยะยาว รวมถึงการเห็นคุณค่าในตนเอง ความวิตกกังวล และความก้าวร้าวต่ำ

ในทางกลับกัน ความสงบจะทำให้เด็กๆรู้สึกมั่นใจ ดังนั้นลูกของคุณจึงรู้สึกถึงการถูกรักและเป็นที่ยอมรับ แม้ว่าพวกเขาจะประพฤติตัวไม่ดีก็ตาม

8.อย่าตีหรือดุด่าพวกเขาในที่สาธารณะ

อย่าตีหรือดุด่าพวกเขาในที่สาธารณะ

พยายามเก็บเก็บอารมณ์โกรธของคุณ และการฝึกกฎระเบียบวินัยสำหรับเด็กๆไว้สำหรับการจัดการที่บ้าน

การดุเด็กในที่สาธารณะอาจทำให้พวกเขารู้สึกอับอาย ซึ่งอาจนำไปสู่ความอึดอัดทางสังคมเมื่อโตขึ้น รวมถึงการแสดงความไม่พอใจต่อพ่อแม่ นี่คือสิ่งสุดท้ายที่ผู้ปกครองทุกคนต้องการและควรทำ!

9.รับรู้และคอยซัพพอร์ตความก้าวหน้าของพวกเขา

.รับรู้และคอยซัพพอร์ตความก้าวหน้าของพวกเขา

ในฐานะพ่อแม่ สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้บุตรหลานของคุณรู้ว่า คุณสามารถทำให้พวกเขารู้สึกพึงพอใจในตนเองได้ คุณสามารถรับรู้ถึงความพยายามที่พวกเขาทำลงไป รวมถึงความก้าวหน้าของพวกเขาด้วย เพราะสำหรับพวกเขาแล้ว มันเป็นเหมือนของขวัญชิ้นพิเศษ กำลังใจจากพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ลูกของคุณอยู่อย่างสม่ำเสมอเมื่อคุณรู้ว่าพวกเขากำลังเติบโตอย่างไรหรือพวกเขา “กำลังเป็นใคร”

เนื่องจากสิ่งนี้จะส่งข้อความถึงพวกเขาว่า ไม่ว่าพวกเขาจะเลอะเทอะแค่ไหน คุณก็ยังเชื่อในตัวพวกเขาอยู่เสมอ

อ้างอิง : brightside