Thursday, 18 April 2024

ไฟฟ้าลัดวงจรคืออะไร? หาสาเหตุและซ่อมแซมอย่างไร?

ไฟฟ้าลัดวงจรคืออะไร? ไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) หรือไฟฟ้าช็อต เป็นสภาพผิดปกติ ที่เกิดจากวงจรไฟฟ้ามีเส้นทางให้กระแสไหลจากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง ไปยังจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ โดยแทบไม่ผ่านความต้านทานใดๆ

ไฟฟ้าลัดวงจรคืออะไร?

ไฟฟ้าลัดวงจรคืออะไร?

ไฟฟ้าลัดวงจร คือ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผิดทาง เราจะเรียกเหตุการณ์นี้ ว่าเกิดการลัดวงจร มันจะเกิดขึ้นเนื่องจากมีความผิดพลาดในวงจรระหว่างแหล่งจ่ายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น สายตัวนำ 2 สายอาจสัมผัสกันเพราะหลวมหลุดจากขั้นต่อ หรือฉนวนหุ้มสายไฟอาจจะเปื่อยยุ่ย

ไฟฟ้าลัดวงจรมีสาเหตุมาจากอะไร?

กระแสไฟฟ้าแรงสูงผิดปกติที่ไหลไปตามสายไฟ ผ่านเส้นทางที่มีความต้านทานต่ำที่สุด เมื่อถึงจุดอ่อนที่ออกแบบไว้ เช่น ฟิวส์ หรือ สวิตช์ตัดไฟอัตโนมัติแบบติดตั้งในแผง (MCB – Miniature Circuit Breaker) ซึ่งจะตัดวงจรไฟฟ้าให้ขาดออกจากัน ทำให้กระแสไฟฟ้าหยุดไหล ถ้าไม่มีจุดอ่อนดังกล่าว การลัดวงจรอาจก่อให้เกิดอัคคีภัย เนื่องจากสายไฟหรือขั้นต่อร้อนเกินขีดจำกัด

อาจได้ยินเสียงฟิวส์ขาดเวลาเสียบปลั๊กเข้าเต้ารับ ในกรณีนี้สามารถตรวจสอบขั้วต่อในปลั๊กและเปลี่ยนฟิวส์ใหม่

ทำยังไงเมื่อไฟฟ้าลัดวงจร?

ไฟฟ้าลัดวงจรมีสาเหตุมาจากอะไร?

ค้นหาจุดบกพร่อง : สับสวิตช์เพื่อตัดไฟที่แหล่งจ่ายไฟหรือกล่องฟิวส์ใหญ่ก่อน อย่าตรวจสอบในขณะที่ยังมีกระแสไฟไหลเวียนอยู่ ที่เก็บฟิวส์หรือกล่องหิวส์แต่ละตัว ควรระบุไว้ด้วยว่า ฟิวส์ตัวนี้ป้องกันวงจรใด

ถ้าหากเราไม่ได้ระบุไว้ ให้ตรวจสอบทีละตัว ในที่เก็บฟิวส์แบบเก่ามักมีฟิวส์ชนิดที่สามารถเปลี่ยนสายใหม่ได้ จะสามารถมองเห็นได้เลยว่าสายฟิวส์ขาดหรือไม่ หรือเห็นฟิวส์หลอมเป็นปมอยู่บนสาย หรือพบจุดที่ขาดเมื่อกดฟิวส์เบาๆ ถ้าแหล่งจ่ายไฟมี MCB จะเห็นปุ่มหรือสวิตช์ที่โดนตัด

ถ้าในที่เก็บฟิวส์ ใช้ฟิวส์แบบแท่งเล็กๆ ต้องทดสอบฟิวส์ทีละตัว โดยเปิดฝากระบอกไฟฉายที่ทำจากโลหะ แล้วถือแท่งฟิวส์ให้ปลายหนึ่งสัมผัสกับแบตเตอรี่อีกปลายหนึ่งสัมผัสกับกระบอกไฟฉาย ถ้าไฟติดแสดงว่าฟิวส์ยังใช้ได้อยู่

หากเกิดจุดบกพร่องในวงจรไฟส่องสว่าง : ปิดไฟทุกดวง รวมทั้งสับสวิตช์ใหญ่ที่แหล่งจ่ายไฟ ตรวจดูตามจุดข้องอของโคมไฟ ซึ่งมันอาจมีการเสื่อมสภาพได้ นอกจากนี้การเคลื่อนไหว เช่น ลมที่พัดเข้ามาทางหน้าต่างอาจทำให้สายไฟที่เปลือยสัมผัสกันได้ ตอนดูจุดเชื่อมสายไฟที่ฐานไฟบนเพดาน รวมทั้งที่ขั้วจับหลอดและสวิตช์ไฟด้วย เพื่อดูว่ามีสายไฟหลุดจากขั้วต่อหรือไม่ ที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่ง คือ เคเบิ้ลร้อยสายอาจเสียหายระหว่างซ่อมแซมกำแพงหรือพื้น ให้ใช้อุปกรณ์ทดสอบวงจรตรวจสอบความเสียหาย ถ้าสายเคเบิ้ลเสียหาย จะต้องเปลี่ยนใหม่ทันที

เมื่อจัดการแก้ไขจุดบกพร่องเรียบร้อยแล้ว ให้เปลี่ยนฟิวส์ที่ขาดหรือตั้ง MCB ในแหล่งจ่ายไฟใหม่ จากนั้นจึงค่อยเปิดสวิตช์หลัก ถ้าฟิวส์ยังขาดหรือ MCB ตัดอีกให้เรียกช่างไฟฟ้ามาดู

ทำยังไงเมื่อไฟฟ้าลัดวงจร?

หากเกิดจุดบกพร่องในวงจรจ่ายไฟ : ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าออกทั้งหมด ให้เต้ารับทุกอันว่างเปล่า ถ้ามีเต้า 3 ทาง หรือ ชุดขั้วต่อฟิวส์ในวงจร ให้ทดสอบว่าฟิวส์ที่อยู่ข้างในยังสามารถใช้งานได้หรือไม่ ใช้อุปกรณ์ทดสอบวงจรตรวจสอบดูว่าสายไฟใช้การได้ดี เป็นปกติหรือไม่ ถ้าใช้การไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนใหม่

ติดฟิวส์เก่าที่ซ่อมแซมแล้วกลับเข้าที่ในตัวจ่ายไฟ หรือ ตั้ง MCB ใหม่แล้วเปิดสวิตช์หลักเพื่อทำการจ่ายไฟ ถ้าฟิวส์ขาดหรือ MCB ตัดอีกให้เรียกช่างไฟฟ้า แต่ถ้าฟิวส์ไม่ขาด หรือ MCB ทำงานได้เป็นปกติ แสดงว่าปัญหาต้องอยู่ที่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

หากเกิดจุดบกพร่องในเครื่องใช้ไฟฟ้า : ถอดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แล้วตรวจหาจุดบกพร่องในสายไฟที่ต่อเข้ากับอุปกรณ์แต่ละชนิด อาจจะมีฟิวส์ขาดหรือสายไฟหลุดคาอยู่ในปลั๊ก ห้ามตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าเด็ดขาด

ถ้าไม่พบอะไรผิดปกติให้ต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ทีละชิ้นเข้ากับวงจรแล้วเปิดสวิตช์ ถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนบกพร่อง ฟิวส์จะขาดอีกครั้ง ถ้าปัญหารุนแรงกว่าสายไฟขาดหรือเดินสายผิด ควรนำไปให้ช่างช่วยดูให้ หรือ นำไปซ่อมแซมทันที.