Wednesday, 18 September 2024

หูด (Wart) – การรักษา กำจัด และป้องกันหูด

28 Aug 2020
1138

หูด (Wart) คือเนื้องอกของผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและเป็นโรคติดต่อที่ไม่ร้ายแรง มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ หูดธรรมดา หูดผิวเรียบ หูดฝ่ามือ/ฝ่าเท้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดที่เป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นจากผิวหนัง ซึ่งเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ใหญ่

ชนิดของหูด

หูดที่พบเห็นกันโดยทั่วไป (Common wart) มีขนาดใหญ่ที่สุด บางครั้งอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2.5 เซนติเมตร ลักษณะเป็นตุ่มกลมแข็ง ผิวหยาบ อาจมีสีน้ำตาลหรือเทาๆ และอาจเชื่อมติดกับหูดอีกเม็ดหนึ่งได้ มักพบในเด็ก และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณมือ

หูด (Wart) - การรักษา กำจัด และป้องกันหูด

หูดอีกชนิดหนึ่งที่พบมากในเด็กได้แก่ หูดที่ฝ่าเท้า (Plantar warts or verrucas) โดยจะเกิดที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า ทำให้รู้สึกเจ็บเวลาเดิน หูดทั้งสองประเภทนี้มีผิวเรียบ มักมีขนาดเล็กและเกิดต่อกันเป็นกลุ่มบริเวณรอยเกา นอกจากนี้ยังมีหูดแบบเป็นติ่ง (Filiform warts) ซึ่งมีลักษณะเป็นติ่งเหนือเล็กๆยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และมีส่วนหัวแข็งมักเกิดบนบริเวณใบหน้าหรือลำคอ และอีกหนึ่งประเภท คือ หูดอีกชนิดหนึ่งเกิดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์หรือทวารหนัก (Anogenital warts)

การรักษาหูด

บางครั้งหูดอาจหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา แต่ส่วนใหญ่มักหายยากและแพร่กระจายเพิ่มขึ้น สำหรับหูดที่ฝ่าเท้า ให้ฝานหูดจนมีเลือดซิบแล้วปิดพลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิก 40% พอครบ 1 สัปดาห์ ก็ให้ฝานหูดซ้ำ แล้วปิดพลาสเตอร์ต่อไป ทำซ้ำทุกสัปดาห์จนกว่าจะหาย แต่ถ้าเป็นหูดที่ใบหน้า อวัยวะสืบพันธุ์ หรือทวารหนัก อย่ากำจัดเอง ควรปรึกษาและขอยาจากแพทย์

อย่าให้ยาถูกผิวส่วนอื่น โดยปิดบริเวณรอบๆหูดด้วยแผ่นปิดตาปลา ซึ่งจะเว้นช่องตรงกลางเอาไว้ จากนั้นทายาเฉพาะบนหูดแล้วปล่อยให้แห้ง ห้ามเกาหูดอย่างเด็ดขาดเพราะจะทำให้ลุกลามออกไปได้

หูด (Wart) - การรักษา กำจัด และป้องกันหูด

ถ้ายาดังกล่าวไม่ได้ผล หรือมีอาการเจ็บปวด ให้รีบไปพบแพทย์ แพทย์อาจใช้ความร้อนจี้ ขจัดด้วยความเย็นโดยใช้ไนโตรเจนเหลว หรือใช้เครื่องมือขูดออก

การป้องกันหูด

อย่าแตะต้องหูด หากต้องใช้ห้องออกกำลังกาย ห้องน้ำ หรือสระว่ายน้ำสาธารณะ ให้ปิดหูดกับพลาสเตอร์แบบกันน้ำ เพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น แต่ทางที่ดีควรงดการใช้บริการสาธารณะจะดีกว่า.