ม่านเหล็ก หรือ ( Iron Curtain ) : คือ ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และพรมแดนที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป โดยการแบ่งแยกทวีปยุโรปออกเป็นสองส่วน นับตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงยุคของสงครามเย็น ระหว่างปี 1945-1989
ความตึงเครียดระหว่างสหภาพโซเวียตกับมหาอำนาจตะวันตก
รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ปรากฏชัดแม้ทั้งสองฝ่ายจับมือเป็นพันธมิตรต่อต้านนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 ร่วมกัน กฏบัตรแอตเลนติกเมื่อปี 1941 กำหนดให้สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ สนับสนุนการเลือกตั้งเสรีและเคารพในการตัดสินใจของแต่ละชาติ แต่ โจเซฟ สตาลิน ประมุขของโซเวียต ประกาศในการประชุมที่ยัลตาในปี 1945 ว่าโซเวียตจะยังคงดำรงอิทธิพลในรัฐยุโรปตะวันออกที่โซเวียตช่วยปลดปล่อยพวกนาซี สงครามเย็นจึงร่วมก่อตัวขึ้น ข้อตกลงระหว่างประเทศ 2 ฉบับที่แสดงความเป็นปรปักษ์นี้ คือ องค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ (NATO) ซึ่งประเทศยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือตั้งขึ้น (1940) กับสนธิสัญญาวอร์ซอ ซึ่งโซเวียตและประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกตั้งขึ้น (1955)
โซเวียตก่อตั้งระบอบคอมมิวนิสต์ที่สนับสนุนโซเวียตไปทั่วทั้งยุโรปตะวันออกภายใน 3 ปีหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 วินสตัน เชอร์ชิลล์ ใช้คำเรียกการแบ่งแยกทางการเมืองนี้ว่า ‘ม่านเหล็ก’ สหรัฐฯวิตกกับการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในโลกตะวันตก โดยเฉพาะในฝรั่งเศสและอิตาลี จึงได้รณรงค์ให้ใช้แผนการมาร์แชล (Marshall Plan) เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจในยุโรปฟื้นตัว
โซเวียตไม่ยอมให้ประเทศสมาชิกเข้าร่วมในแผนการครั้งนี้และยอมให้เพียงมีการลงนามในข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มเอง เศรษฐกิจของยุโรปแบ่งแยกกันอยู่คนละขั้วชัดเจน
ความขัดแย้งทางอุดมการณ์
ในปี 1945 เยอรมันนีถูกแบ่งสรรเป็นเขตยึดครองโซเวียต สหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส กรุงเบอร์ลินซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในโซเวียต ก็ถูกแบ่งแยกออกในทำนองเดียวกัน มิถุนายน 1948 กองกำลังโซเวียตปิดกั้นถนน เข้าเมืองจากตะวันตก แต่การปิดกั้นก็ล้มเหลวลงโดยการขนเครื่องบินขนส่งไปลงที่เบอร์ลิน เครื่องบินอังกฤษและอเมริกันลำเลียงเสบียงเข้าไปส่งในเมืองเป็นเวลานานเป็นปี ในช่วงเวลานั้น สหรัฐฯผูกขาดเรื่องนิวเคลียร์ แต่ในปี 1949 โซเวียตทดลองระเบิดปรมาณูเป็นผลสำเร็จ ทำให้ทั้งฝ่ายนาโต้และสนธิสัญญาวอร์ซอ กุมอำนาจด้านนิวเคลียร์เอาไว้
เกิดการแบ่งแยกที่ต้องเลือกฝ่าย
สงคราม ‘ตัวแทน’ ระหว่างกลุ่มอำนาจปะทุขึ้นในเกาหลีในปี 1950 เมื่อเกาหลีเหนือที่เป็นคอมมิวนิสต์มีโซเวียตหนุนหลัง และในสงครามเวียดนามปี 1965 ความตึงเครียดในยุโรปปะทุขึ้นอีกครั้งโดยการก่อจราจลในฮังการี ในปี 1956 เมื่อกองกำลังโซเวียตขยี้ชาวฮังการีที่พยายามจะแยกตัวจากกลุ่มโซเวียต ในปี 1961 รัฐบาลคอมมิวนิสต์ในเยอรมันตะวันออกสร้างกำแพงเบอร์ลิน เพื่อแบ่งแยกเบอร์ลินตะวันตก และหลังจากนั้นอีก 7 ปี กองกำลังสนธิสัญญาวอร์ซอเข้าไปในเชโกสโลวเกียเพื่อจัดตั้งรัฐบาลปรามปรามพวกคิดกบฏ
ความตึงเครียดเริ่มผ่อนคลาย
ในปี 1975 โซเวียตส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจร ทำให้สงครามเย็นเริ่มขยายสู่อวกาศ สหรัฐฯ โต้ตอบด้วยโครงการพัฒนาจรวดวิถีไกลติดหัวรบนิวเคลียร์ แต่มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่โลกดูเหมือนจะตกอยู่ในอันตรายของนิวเคลียร์ นั่นคือ เหตุการณ์วิกฤติการณ์ขีปนาวุธคิวบาในปี 1962
การเจรจาลดอาวุธ (Strategic Arms Limitation Talk, SALT) ช่วยคลายความตึงเครียดระหว่างกลุ่มขั้วมหาอำนาจ โดยมีการลงนามใน ซอลต์ 1 ในปี 1972 ความสัมพันธ์คืบหน้าไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อมีการประชุมใหญ่ที่เฮลซิงกิในปี 1975 แต่กลับถอยหลังอีกเมื่อโซเวียตเข้ามารุกรานอัฟกานิสถาน ในปี 1979 เมื่อเศรษฐกิจของโซเวียตอ่อนตัวลงและ สหรัฐฯ ดูเหมือนจะเหนือกว่า ประมุขของโซเวียตคือ มิคาอิล กอร์บาซอฟ เสนอให้ลดอาวุธนิวเคลียร์เป็นขั้นตอน
ในปี 1989 เขาสั่งให้ถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน และเริ่มยุดเปิดเสรีในประเทศของตัวเอง ยุโรปตะวันออกถือโอกาสที่มีการเปลี่ยนนโยบายนี้โค่นล้มรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในประเทศของตน กำแพงเบอร์ลินจึงได้ถูกทลายลง นับเป็นการกระทำที่บ่งบอกเป็นนัยถึงการสิ้นสุดของสงครามเย็น ในการประชุมใหญ่ว่าด้วยความมั่นคงและการร่วมมือในปี 1990 มีการประกาศเป็นทางการว่า สงครามเย็นยุติลงแล้ว.