Thursday, 12 December 2024

การปฏิวัติสามครั้งที่สร้างโลกอุตสาหกรรมสมัยใหม่

การปฏิวัติ หรือ การเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาเกษตรกรรมและการค้าพื้นฐานไปสู่สังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ซึ่งใช้เครื่องจักรทุ่นแรง นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปฏิวัติโลกอุตสาหกรรมเลยทีเดียว ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาแล้วถึง 3 ครั้งด้วยกัน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก

The Industry of the Tyne
ภาพเขียนของดับเบิลยู เบลล์ สก็อตชื่อ The Industry of the Tyne เป็นภาพการใช้แรงงานในโรงงานยุคแรกๆ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นศตวรรษที่ 19 บนทวีปที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในขณะนั้น คือ ยุโรปตะวันตกซึ่งเป็นดินแดนที่มั่งคั่งที่สุดในโลก โดยมีอังกฤษเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุด เนื่องจากมีผลผลิตทางเกษตรกรรมสูงสุด การที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นในประเทศที่ร่ำรวยที่สุด ก็เพราะเป็นแหล่งที่มีความจำเป็นบีบบังคับให้ต้องหาทรัพยากรมาใช้

นอกจากนั้น อังกฤษยังมีถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานอยู่มากมาย ในปี 1850 ระดับการใช้พลังงานในยุคก่อนอุตสาหกรรมได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้พลังงานส่วนที่เหลือสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้

ความมั่งคั่งของอังกฤษในศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดความต้องการทางเทคโนโลยีใหม่ๆ การผลิตสิ่งทอก็หันไปสู่เครื่องจักร เพราะผู้ประกอบการค้าฝ้ายไม่สามารถผลิตผ้าได้เพียงพอกับความต้องการของตลาดด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ นักประดิษฐ์ ส่วนใหญ่จริงๆแล้วจึงเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนั่นเอง

กระจายความเจริญสู่ประเทศต่างๆ

เมื่อเกิดมีประเทศอุตสาหกรรมขึ้นประเทศหนึ่ง โลกทั้งโลกก็แปรโฉมหน้าไป รัฐบาลของประเทศต่างๆ ต่างก็มีความเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม เมื่อเกิดแรงกดดันเพิ่มขึ้นว่าให้เอาอย่างอังกฤษ

พัฒนาการของสหรัญอเมริกาในศตวรรษที่ 19 เป็นตัวอย่างชัดเจนของการแปรประเทศไปสู่อุตสาหกรรมโดยตามประเทศอื่น สหรัฐฯตั้งกำแพงภาษีขึ้น เพื่อทำตลาดของตัวเองบังคับให้ผู้คนซื้อสินค้าอเมริกัน ซึ่งวิธีนี้รัสเซีย เยอรมัน และญี่ปุ่นก็ทำตามในเวลาต่อมา

อุตสาหกรรมสร้างรูปแบบใหม่ของความเป็นเมือง ส่วนมากจะเป็นพื้นที่ที่มีถ่านหินในปริมาณมาก ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของเมืองที่สกปรก แออัด มีแต่คนงานในโรงงานที่ยากจนจำนวนมากอาศัยอยู่

การปฏิวัติครั้งที่สอง

รถยนต์ฟอร์ดรุ่นที
รถยนต์ฟอร์ดรุ่นที ที่ผลิตจำนวนมากในราคาที่หาซื้อได้ จอดรอการขนส่งทางแม่น้ำ นับเป็นรถยนต์คันแรกสำหรับคนส่วนใหญ่

ผลผลิตสำคัญจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกคือ เครื่องจักรไอน้ำ รถจักร เครื่องยนต์กลไก เรือ เครื่องเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็น ‘สินค้าต้นทุน‘ มากกว่าจะเป็นสิ่งของที่ผู้คนซื้อหามาใช้กัน การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง จึงเกิดขึ้นเมื่อตลาดผู้บริโภคเติบโตขึ้นอย่างมาก

ก้าวที่สำคัญ คือการพัฒนากระบวนการผลิตแบบใหม่ ซึ่งต้องอาศัยการเชื่อมโยงประสานงานอย่างเป็นระบบสมบูรณ์ สารการผลิตแปรโฉมหน้ากระบวนการทำงานไปอย่างสิ้นเชิง โดยลดความสำคัญของช่างฝีมือหลายประเภทลง เปลี่ยนมาใช้ช่างทำงานเพียงงานเดียวเป็นชิ้นๆ แยกออกจากกัน

วิธีการผลิตแบบนี้ทำให้คนงานไร้ฝีมือได้รับค่าจ้างสูงขึ้นมาก มีอำนาจต่อรองเพิ่มมากขึ้น โดยผ่านทางสหภาพแรงงาน และยังสามารถผลิตสินค้าได้ราคาถูกลง ทำให้คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ง่ายมากกว่าแต่ก่อน

การปฏิวัติครั้งที่สาม

หุ่นยนต์ในโรงงานที่ช่วยในการผลิตรถยนต์ที่ญี่ปุ่น
หุ่นยนต์ในโรงงานที่ช่วยในการผลิตรถยนต์ที่ญี่ปุ่น

ในศตวรรษที่ 20 เกิด ‘การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม’ ขึ้น อุตสาหกรรมใหม่ๆที่อาศัยวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น เภสัชกรรม และปิโตรเคมี และวัสดุเช่นพลาสติกได้รับการพัฒนาขึ้น แต่ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่สามารถควบคุมการผลิตได้อย่างใกล้ชิดขึ้น

นอกจากนั้น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ยังทำให้เกิดการสื่อสารที่รวดเร็วขึ้นและมีราคาที่ถูกลง ผลคือ ตลาดขยายไปทั่วโลก ทำให้ ‘ประเทศล้าหลัง‘ แสวงหาเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น และทำให้เงินทุนไหลเข้าสู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจดี

ญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจ

ญี่ปุ่นพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกภายในเวลา 30 ปี หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ความสำเร็จของประเทศ อย่างเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวันนั้น ต่างเกิดจากการผสานเทคโนโลยีคุณภาพเข้ากับแรงงานราคาต่ำ ตัดราคาสินค้า รวมทั้งทำลายอุตสาหกรรมบางประเภทในประเทศอุตสาหกรรมเก่าแก่ไป

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การเติบโตทางเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องปกติสามัญ การลงคะแนนเสียงก็มักจะเลือกเฉพาะรัฐบาลที่สัญญาว่าจะทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรืองขึ้น การเติบโตดังกล่าวเริ่มเมื่อ 200 ปีมาแล้วนี้เอง จากความก้าวหน้าทางวิทยาการขั้นต้น นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก ได้ปูทางให้เทคโนโลยีอย่างเช่น ซิลิคอน และชิปถือกำเนิดขึ้นได้.

มาลองดูสรุปการปฏิวัติอุตสาหกรรมจาก BBC กัน !

https://www.youtube.com/watch?v=GYln_S2PVYA

อ้างอิง : BBC Documentary