Thursday, 25 April 2024

ต่อมหมวกไตล้า อาการของคนเช้าไม่อยากตื่น ดึกไม่อยากหลับ

18 Jul 2022
908

ต่อมหมวกไตล้า หรือ อาการของคนเสพติดความเครียด หากคุณรู้สึกเหนื่อยล้า ตื่นเช้าขึ้นมาแต่ก็ยังง่วง ตกดึกแล้วตาสว่าง หัวแล่นมีไอเดีย ช่วงกลางวันชอบเติมเต็มชีวิตด้วยของหวานๆ ละก็มันอาจเป็นสัญญาณของ ภาวะต่อมหมวกไตล้า ก็เป็นได้นะ

ต่อมหมวกไตล้า อาการของคนเช้าไม่อยากตื่น ดึกไม่อยากหลับ

ต่อมหมวกไตทำหน้าที่อะไร?

เป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็ก ตั้งอยู่ด้านบนไตทั้ง 2 ข้าง ต่อมหมวกไตมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด ทั้ง …

  • ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) ที่มีหน้าที่ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียมและโปแตสเซียมในร่างกายผลิต
  • ฮอร์โมนความเครียดที่เรียกกันว่า คอร์ดิซอล (Cortisol) ซึ่งเมื่อเรามีความเครียด ต่อมหมวกไตก็จะทำหน้าที่หลั่งสารคอร์ติซอลออกมาสู่ร่างกาย แต่หลายๆครั้งความเครียดของเราก็อาจเกิดขึ้นได้ในหลายๆสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น เวลาที่เราเข้านอนดึก หรือ เวลาที่เราไม่สบาย การฝืนใช้งานร่างกายเป็นระยะเวลานาน ความเหนื่อยล้าจากการทำงาน และเมื่อถึงจุดๆนึงที่ต่อมหมวกไตหลั่งสารเหล่านี้ออกมาไม่เพียงพอ มันก็จะเกิดอาการล้าได้
  • ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) มีหน้าที่ต้านความเครียด เพิ่มความแข็งแรง และชะลอความเสื่อมให้ร่างกาย

อาการที่บ่งบอกว่า เราเป็น “ต่อมหมวกไตล้า”

  • ตื่นนอนตอนเช้าไม่ไหว ตื่นแล้วก็ยังง่วงอยู่
  • เหนื่อยง่าย ทำอะไรได้แปปเดียว
  • รู้สึกอยากนอนกลางวันอยู่ตลอดเวลา
  • ชอบทานของหวาน เสพติดความหวาน
  • เสพติดคาเฟอีน กินกาแฟบ่อยๆ
  • ชอบกินอาหารเค็ม
  • ตอนดึก รู้สึกมีพลัง กระปรี้กระเปร่า ไอเดียพุ่งกระฉูด
  • มักจะเริ่มง่วงนอนหลังตี2
  • วิงเวียนบ้านหมุนบ่อยๆ
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • ผิวแห้ง ไม่สดใส หมองคล้ำ
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • เจ็บป่วยบ่อย เจ็บป่วยง่าย

แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น

  • ปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ
  • ปัญหาเกี่ยวกับโรคปอด
  • โรคภูมิคุ้นกันบกพร่อง / แพ้ภูมิตัวเอง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไต
  • โรคตับ
  • ภาวะโลหิตจาง

สาเหตุของการเป็น ”ต่อมหมวกไตล้า”

อาการต่อมหมวกไตล้าเกิดจาก ความเครียดและความเหนื่อยล้าในชีวิต เพราะต่อมหมวกไตจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญเพื่อรองรับกับภาวะอารมณ์ของเราในแต่ละวัน หากเราปล่อยให้ร่างกายเกิดการสะสมของความเครียดมากๆ ต่อมหมวกไตก็จะผลิตฮอร์โมนออกมาได้ไม่เพียงพอ จนเกิดอาการล้าได้ ตัวอย่างเช่น

  • ความเครียดสะสมจากการทำงานหนัก
  • การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือ คุณภาพการนอนไม่ดี คุณอาจจะมีชั่วโมงหลับลึกที่น้อยเกินไป
  • การฝืนใช้ร่างกายทำงานหนักหรือมากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดความเครียดสะสม
  • ความวิตกกังวล ความเครียด คิดมาก ไม่ปล่อยวาง มีเรื่องกังวลใจอยู่ตลอดเวลา

ภาวะต่อมหมวกไตล้า จำเป็นต้องหาหมอหรือไม่?

หากคุณมีภาวะหรือสภาพร่างกายที่เหนื่อยล้ามาเป็นเวลานาน คุณควรได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะสภาวะความเครียดที่มากเกินไป อาจส่งผลสู่โรคร้ายในอนาคตได้ เช่น อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ทำให้เราไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีผลในเรื่องของความดันโลหิต บางรายอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งก็มีผู้ป่วยบางรายที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการรับยา ซึ่งก็แล้วแต่สภาพอาการของแต่ละบุคคล

วิธีการรักษาต่อมหมวกไตล้า

เราสามารถดูแลตัวเองให้หายจากสภาวะนี้ได้ โดยการปรับไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตของเราใหม่ หรือ อาจจะเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางในการรักษาและหาต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด หรือสำหรับบางคน อาจจะเพียงแค่ปรับเปลี่ยนเวลานอน เวลาพักผ่อน การรับประทานอาหาร แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็จะปรับเปลี่ยนตามการใช้ชีวิตของเรา ตัวอย่างเช่น

  • พยายามลดความเครียด – เพราะความเครียดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรค เราจึงต้องเริ่มคลายระดับความเครียดลง โดยหาวิธีที่ช่วยให้เราผ่อนคลายลง ปล่อยวาง ด้วยการลองทำงานอดิเรก ให้เวลากับตัวเอง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ – นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย วันละ 6-8 ชั่วโมง
  • ถ้ามีโอกาส ลองนอนหลับก่อน 4 ทุ่ม – การเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม ก็เพื่อให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายถูกปรับให้อยู่ในภาวะสมดุล
  • เวลารู้สึกเพลีย พยายามอย่าฝืนตนเอง – เวลาที่เรารู้สึกเพลีย ให้ลองพักด้วยการนอนราบ พยายามอย่าฝืนใช้ร่างกายหนักเกินไป
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ – รับประทานอาการที่มีประโยชน์ และพยายามทานอาหารมื้อแรกของวันก่อน เวลา 10 โมงเช้า ที่สำคัญควรเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม สด สะอาด และเพียง พยายามทานไขมันดี อาหารที่มีเส้นใย เพื่อช่วยในเรื่องการขับถ่าย
  • ออกกำลังกายบ้าง – ลองฝึกออกกำลังกายแบบเบาๆ พยายามขยับตัวบ้างในแต่ละวัน อย่างเข่น ลองเดินรอบๆบ้าน ลองเล่นโยคะ เริ่มจากออกกำลังแบบเบาๆ เผื่อให้ไม่ฝืนร่างกายจนเกินไป
  • ลองรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ – ลองแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ ประมาณ 5-7 มื้อต่อวันแทนการทานอาหารมื้อหลัก เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลดอาหารหวานและเค็ม – ลดอาหารรสจัดที่มีรสหวานและเค็ม และห้ามงดอาหารเช้าโดยเด็ดขาด พยายามทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ ตัวอย่างเช่น ขนมปังพวกโฮลวีท ผัก ผลไม้ ลดการดื่มกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง
  • ปรึกษาแพทย์ – การปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะถ้าหากคุณมีอาการเรื้อรังมาเป็นเวลานาน หรือ อาจลองพยายามปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของคุณดูแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น มันอาจจะเกิดจากโรคอื่นๆที่ซ่อนอยู่ในตัวเองก็ได้ จึงต้องรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อให้แน่ใจ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี และเหมาะกับตัวเรามากที่สุด

อ้างอิง : bangkokhospital , phyathai