ต้นยูคาลิปตัส (Eucalyptus) เป็นพรรณไม้มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย หรือบนเกาะแทสเมเนีย มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะมินดาเนา เซลีเบส ปาปัวนิวกินี ในพื้นที่ชุ่มที่มีน้ำขังในเขตร้อน มีมากกว่า 700 ชนิด ในประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ พระที่นั่งวิมานเมฆ สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปีพ.ศ. 2444
ทำความรู้จักกับยูคาลิปตัส (Eucalyptus)
ต้นยูคาลิปตัส จัดเป็นไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบค่อนข้างกลม แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นบางเรียบเป็นมันและลอกออกง่าย เปลือกจะมีสีน้ำตาลอ่อนปนขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นคู่ ใบห้อยลง ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกดอกทั้งแบบเดี่ยวและแบบช่อกระจุกตัวกัน ผลมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมหรือคล้ายรูปถ้วย ปลายผลแหลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่
ยูคาลิปตัสมีมากกว่า 600 สายพันธุ์ซึ่งเป็นต้นไม้สายพันธุ์ออสเตรเลียโดยแท้ ยูคาลิปตัสพบได้ในระบบนิเวศเกือบทุกแบบของออสเตรเลีย แม้ว่าพันธุ์ส่วนใหญ่จะพบได้แค่ในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น แต่ก็มีหลายพันธุ์ที่พบกระจัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวกีนีเช่นกัน
คนทั่วไปรู้จักยูคาลิปตัสในชื่อ gum tree มากกว่า ชื่อสามัญนี้บ่งบอกถึงยางที่หลั่งออกมาจากลำต้นเวลาที่ถูกตัดหรือฟัน หรืออาจจะเกิดจากการเจาะของพวกแมลง
ผู้ที่ตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ก็คือ นักพฤษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า ชาร์ล หลุยส์ เลริติเยร์ ( Charles Louis L’Heritier ) ซึ่งทำงานอยู่ที่บริติชมิวเซียม เมื่อปี ค.ศ. 1777 เขาได้จัดทำรายละเอียดของพันธุ์ไม้ที่เดวิด เนลสัน นักพฤษศาสตร์ที่ร่วมเดินทางในขบวนเดินทางสำรวจครั้งที่ 3 ของกัปตันเจมส์ คุก
การปลูกยูคาลิปตัส
ควรเพราะเมล็ดยูคาลิปตัสระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เพราะจะเป็นช่วงที่กำลังหมดหน้าฝนและอากาศจะไม่ร้อนมากจนเกินไป การย้ายต้นระหว่างการเพาะชำจะมีอัตราการรอดตายที่สูงกว่า
เมื่อเลี้ยงไว้ในถุงชำ 2-3 เดือน ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะจะนำไปปลูกในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมพอดี ช่วงแรกๆควรใช้หลักไม้ไผ่ผูกยึดไว้เพื่อช่วยประคับประคองลำต้นไปด้วย
ยูคาลิปตัสเป็นไม้ที่โตเร็วมาก สามารถตัดฟันและตัดมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่อายุ 3-5 ปี และยังแตกหน่อได้โดยไม่ต้องปลุกใหม่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 24-26 เมตร ต้นที่สูงที่สุด คือ ไม้ป่าต้นยักษ์ในออสเตรเลียซึ่งสูงประมาณ 100 เมตร
ยูคาลิปตัสมีประมาณ 600 สายพันธุ์ แต่ในเมืองไทยนิยมปลูกอยู่แค่ 2 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะเป็น คามาลดูเลนซิส (E. Kamaldulensis) และ กอลบูลัส (E. globulus) ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท รวมทั้งดินเค็ม ดินเปรี้ยว ทนได้แม้แต่ในสภาวะที่แห้งแล้งหรือที่ราบที่น้ำท่วมเป็นบางครั้งในรอบปี แต่จะไม่ทนทานกับดินที่มีหินปูนปริมาณสูง
ยูคาลิปตัสจะขยายพันธุ์ด้วยการหว่านเมล็ดซึ่งจะมีขนาดเล็กมาก และมีกากปนอยู่ด้วย ดังนั้นจึงควรหว่านเมล็ดให้มีระยะห่างกันอย่างสม่ำเสมอ ครอบคลุมพื้นที่โดยตลอด หลังจากนั้นให้ใช้ทรายโรยทับบางๆ เกลี่ยให้เรียบ รดน้ำเช้า-เย็น เมื่อเมล็ดงอกแล้วให้ลดการให้น้ำ เหลือวันละครั้งหรือเป็นวันเว้นวันแทน พอกล้าอายุราว 18 วัน จึงจะย้ายไปชำ
ที่สำคัญ!! อย่าลืมถอนวัชพืชทิ้ง หากพบกล้าไม้ที่เป็นโรคให้ทำลายทันทีโดยการใช้ไฟเผาเพื่อไม่ให้โรคระบาดกระจายไปยังต้นอื่นๆ
ยูคาลิปตัสบางชนิดนั้นมีกลิ่นหอม
แม้ว่ากลิ่นน้ำมันของยูคาลิปตัสจะรุนแรงมากๆ ทั้งยังละม้ายคล้ายกับยาแก้ไอที่ใช้รักษาไข้หวัดมากกว่าจะมาเป็นน้ำหอม แต่ก็มียูคาลิปตัสอยู่ชนิดหนึ่งที่มีกลิ่มหอมน่าพึงพอใจ Eucalyptus citriodora (lemon-scentedgum) มันจะส่งกลิ่นเหมือนกับเลม่อนที่เด็ดออกมาจากต้นใหม่ๆ โดยเฉพาะหลังจากฝนตก นอกจากใบที่มีกลิ่นหอมแล้ว ยังมีลำต้นที่มีเปลือกเรียบสีขาวดูเรียบง่ายและสวยงามบริสุทธิ์ มันจะส่งกลิ่นหอมไปทั่วสวนของคุณ และอาจจะเผื่อแผ่ไปยังสวนของเพื่อนบ้านด้วย
ในบรรดาดอกยูคาลิปตัสที่สวยที่สุด ก็จะเป็น ยูคาลิปตัสที่มีดอกสีแดง ถึงจะมีหลายพันธุ์ที่มีดอกสีแดง แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นต้นเพาะจากเมล็ดซึ่งสีดอกอาจกลายไปจนแตกต่างกันได้มากมาย ตั้งแต่ สีชมพูอ่อน ชมพูเข้ม หรือสีแดง ทุกวันนี้เทคนิคการขยายพันธุ์แบบใหม่ๆ ทำให้เป็นไปได้ที่จะเลือกปลูกต้นยูคาลิปตัสให้ออกมาสีแดงได้แน่นอน
การคลุมดินด้วยใบยูคาลิปตัส
ใบยูคาลิปตัสที่ร่วงหล่นหรือที่ตัดเล็มทิ้งใช้เป็นเครื่องคลุมดินที่เหมาะที่สุดสำหรับสวนที่ปลูกต้นไม้พื้นเมือง ใช้คลุมตามแปลงต้นไม้ในสวนและรอบๆพุ่มไม้ตลอดจนคลุมผิวดินให้เป็นทางเดินแบบลำลองก็ได้
ต้นยูคาลิปตัสนั้นย้ายที่ไม่ได้ ถ้าต้นที่คุณปลูกไว้ใหญ่โตเกินไปสำหรับตำแหน่งที่มันอยู่ ก็จำเป็นต้องตัดทิ้งออกไปเลย หรือถ้าหากคุณยังอยากเก็บไว้ก็ให้ตัดลงจนถึงพื้นแล้วปล่อยให้แตกขึ้นมาใหม่แทน
การแยกแยะสายพันธุ์ยูคาลิปตัส
ยูคาลิปตัสมีสายพันธุ์มากมาย ทำให้จำแนกแยกแยะยาก วิธีง่ายๆ คือ การดูที่เปลือกของลำต้น ชื่อสามัญของยูคาลิปตัสมักจะบอกลักษณะของเปลือกต้นเอาไว้อยู่แล้ว เช่น stringbark ก็คือ เปลือกเป็นเส้นใยเหนียว หรือ smooth bark แบบเปลือกเรียบ