Sunday, 24 November 2024

จะทำอย่างไรถ้ามีคนดุลูกของคุณ?

จะทำอย่างไรถ้ามีคนดุลูกของคุณ? เหตุการณ์แบบนี้เป็นเหตุการณ์ที่ผู้ปกครองหลายๆคนไม่อยากเจอ หรือ ก็คือการเห็นผู้ใหญ่อีกคนดุเด็กหรือลูกๆของคุณ มันทำให้คุณรู้สึกขุ่นเคืองและถูกครอบงำด้วยอารมณ์เชิงลบ และมันอาจก่อให้เกิดเหตุผลเชิงวิวัฒนาการที่ปกติสมบูรณ์แบบสำหรับเด็ก เหมือนพวกเขาต้องเจอกับสภาวะที่รุนแรงนี้

โดยพื้นฐานแล้วเวลาที่เราเจอสถานการณ์แนวนี้ มันจะส่งสัญญาณไปยังตัวกระตุ้นอารมณ์บางอย่างในสมองของคุณ ว่ามีอันตรายอยู่กับเรา หัวใจของคุณเต้นเร็ว ฮอร์โมนหลั่งในระบบการทำงานของคุณ และ “การตอบสนองในการเข้าชาร์จ หรืออาจเข้าโหมดการต่อสู้ในทันที” แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญ คือ ต้องรักษาระดับและจัดการกับสถานการณ์อย่างสุภาพและสร้างสรรค์ให้ได้ด้วย

วันนี้เราจึงอยากมาแนะนำวิธีการจัดการกับสถานการณ์เหล่านี้ หากวันหนึ่งที่คุณต้องเจอผู้ปกครองคนอื่นดุลูกของคุณ คุณจะต้องรับมือกับมันอย่างไรบ้าง?

จะทำอย่างไรถ้ามีคนดุลูกของคุณ?

ยืนยันสถานะของตนเองกับคู่สนทนา

จะทำอย่างไรถ้ามีคนดุลูกของคุณ?

ประการแรก คือ การยืนยันตัวตนของคุณต่อหน้าคู่สนทนาในสถานการณ์นั้น เพื่อเปลี่ยนไดนามิกของการสนทนาโดยสิ้นเชิง

ลูกของคุณจะรู้สึกปลอดภัยและได้รับการปกป้อง เมื่อเห็นผู้ใหญ่ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามต้องให้ความเคารพมากขึ้น และเมื่อต้องเผชิญหน้ากับคนที่อายุเท่าๆกัน พวกเขาจะไม่สามารถใช้อำนาจของสถานการณ์ในตอนนี้ได้

คุณสามารถลองใช้เทคนิคนี้ได้ : นั่นก็คือ การเลียนแบบท่าทางและท่าทีของอีกฝ่าย สิ่งนี้เรียกว่าการสร้างสายสัมพันธ์ และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อเป็นการยืนยันสถานะของคุณ และทำให้คุณดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

ประเมินสถานการณ์ก่อนโต้ตอบ

ความโกรธไม่เคยเป็นทางออกที่ฉลาดนัก ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องใจเย็นลง และจัดการกับสถานการณ์อย่างมีเหตุผล พักหายใจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

เป็นไปได้อย่างยิ่งที่ลูกของคุณทำผิด : มันอาจจะเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากลูกของคุณที่เป็นต้นเหตุ ตัวอย่างเช่น พวกเขาตีเด็กคนอื่น ทำลายทรัพย์สินของใครบางคน ประพฤติตัวไม่ดีในชั้นเรียน ฯลฯ

แรงกระตุ้นของคุณอาจจะเป็นการฟาดฟันใส่อีกฝ่าย แต่ควรพิจารณาสิ่งที่คุณจะทำในสถานการณ์นี้หากบทบาทกลับกัน เพราะมันอาจเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณได้!

พยายามเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

สถานการณ์ทั้งหมดอาจทำให้ลูกของคุณรู้สึกสับสนหรือหวาดกลัว

สิ่งสำคัญ คือ ต้องอดทนกับลูกของคุณ และทำให้พวกเขารู้สึกว่า คุณเข้าใจและตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว พร้อมกับมองลงไปในระดับสายตาเดียวกับพวกเขา และขอให้พวกเขาอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น พยายามระงับการตัดสินของคุณ ณ จุดนี้ และฟังการตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพวกเขา

หากเด็กรู้สึกว่า คุณเข้าใจเขา พวกเขาจะมีแนวโน้มที่จะเข้าใจสิ่งที่คุณจะพูด และพิจารณาพฤติกรรมของพวกเขาอีกครั้งในอนาคต

ตรงไปตรงมากับบุคคลอื่น

การตรงไปตรงมากับใครสักคน อาจดูเหมือนเป็นการหยาบคายและไม่ใส่ใจ แต่การตีความไปรอบๆ หรือคาดเดาสถานการณ์เป็นประจำ มันจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

จริงใจกับคนอื่น แจ้งพวกเขาอย่างสุภาพว่า คุณเชื่อว่าการสั่งสอนบุตรหลานของคุณนั้นอาจเป็นปัญหาของคุณอย่างแน่นอน และคุณจะขอบคุณหากพวกเขาไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ คุณยังเสนอแนะให้พวกเขาพิจารณาสถานการณ์ โดยการเปลี่ยนบทบาทได้ โดยที่คุณเป็นคนดุเด็กซะเอง (หากคุณเป็นพ่อแม่ของพวกเขา)

การพูดคุยโดยตรงไปตรงมา ยังแสดงถึงความกล้าแสดงออก ในขณะที่มีการเจรจาต่อรอง สิ่งสำคัญคือ คุณต้อง ใจเย็น จริงใจ และเปิดใจเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย

ใช้อารมณ์ขันเพื่อกระจาย

ถ้าคุณเห็นว่าสถานการณ์มันดูแย่สุดๆ ให้คุณลองคิดถึงเรื่องตลกเรื่องล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นกับคุณ การมีอารมณ์ขันจะสามารถกระจายสถานการณ์ที่ยากลำบากและลดระดับความเครียดได้เป็นอย่างดี การเล่าเรื่องตลกแบบสบายๆ จะทำให้คนรอบข้างรู้สึกใกล้ชิดกับคุณมากขึ้นในทันที

นอกจากนี้ยังช่วยขจัดความใจร้อนและความรุนแรงของเหตุการณ์ และทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีมุมมองใหม่เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

แน่นอนว่า คุณต้องระวังเรื่องตลกที่คุณทำ โดยเฉพาะอารมณ์ขันบางประเภทอาจดูเหมือนประชดประชันและดูถูกอีกฝ่าย และอาจทำให้เรื่องแย่ลงไปอีก

กำหนดขอบเขต

หากผู้ใหญ่ที่เป็นปัญหาเป็นผู้มีอำนาจในชีวิตของบุตรหลานของคุณ (ครูประจำโรงเรียน ผู้ฝึกสอน ญาติ) การกำหนดขอบเขตเพื่อป้องกันสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

แน่นอนว่า คุณไม่ได้ขอให้พวกเขาไฟเขียวกับการให้บุตรหลานของคุณวิ่งอาละวาดในห้องเรียน หรือ ในสนาม แต่คุณจะต้องเจรจาว่า ให้บุคคลนั้นใช้เทคนิควินัยเดียวกันกับที่คุณใช้ที่บ้าน

ด้วยวิธีนี้ คุณกำลังสร้างมุมมองที่สอดคล้องกันในสายตาของบุตรหลานของคุณเกี่ยวกับสิ่งถูกและผิด และวิธีลงโทษการกระทำผิดได้

อธิบายสถานการณ์ให้ลูกฟัง

เมื่อสถานการณ์เริ่มเบาลง สิ่งสำคัญคือ ต้องพูดคุยและอธิบายทุกอย่างอย่างอดทน ขั้นตอนนี้มีความสำคัญ เนื่องจากวิธีที่คุณรับรู้ความผิดพลาดมา และมันสามารถส่งผลระยะยาวต่อวิธีที่ลูกของคุณจัดการกับข้อผิดพลาดและความพ่ายแพ้

ปลอบลูกของคุณ แต่อย่าให้ความสงสาร เพราะมันสามารถส่งสัญญาณที่เป็นอันตรายต่อพวกเขาได้ — ว่าพวกเขามีสิทธิ์ที่จะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ หรือ ไม่รู้ว่าอะไรถูกหรือผิด ให้ยืนหยัดในสถานะของคุณและอธิบายอย่างใจเย็นว่าเหตุใดการกระทำประเภทนั้นจึงไม่ควรทำกับผู้อื่น : ตัวอย่างเช่น…

“ลูกเอาของเล่นของเจนนี่ไป ลูกคิดว่ามันทำให้เธอรู้สึกอย่างไร? เธอจะรู้สึกเหมือนเดิมไหมถ้าเธอเอาของเล่นชิ้นโปรดของลูกไปด้วย?”

เมื่อผู้ใหญ่อีกคนสั่งสอนลูกของคุณ?

ในฐานะผู้ปกครอง มันเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องสอนลูก ๆ ของคุณให้เคารพผู้มีอำนาจและประพฤติตนตามบรรทัดฐานทางสังคมที่ยอมรับ พวกเขาต้องยอมรับว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน (ชั้นเรียน ทีมกีฬา สนามเด็กเล่น) และตระหนักว่ามีคนดูแลกลุ่มเหล่านี้อยู่

ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกของคุณประพฤติตัวไม่ดีในชั้นเรียน ครูมีสิทธิ์ที่จะชี้ให้เห็นและพูดถึงสาเหตุที่การกระทำว่ามันถูกผิดอย่างไร ควรทำหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติต่อเด็กด้วยความโกรธมีผลเสียร้ายแรง การตะโกนใส่เด็กสามารถลดความภาคภูมิใจในตนเอง ส่งเสริมความวิตกกังวล และทำลายความไว้วางใจระหว่างทั้งสองฝ่ายได้

ในฐานะผู้ใหญ่ เป็นหน้าที่ของเราที่จะค้นหาจุดร่วมรวมกับลูกๆ ของเรา และปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเคารพและความอดทนที่พวกเขาสมควรได้รับด้วย

อ้างอิง : brightside

Exit mobile version