Thursday, 21 November 2024

หูด (Wart) – การรักษา กำจัด และป้องกันหูด

28 Aug 2020
1160

หูด (Wart) คือเนื้องอกของผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและเป็นโรคติดต่อที่ไม่ร้ายแรง มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ หูดธรรมดา หูดผิวเรียบ หูดฝ่ามือ/ฝ่าเท้า หูดที่อวัยวะเพศ หูดที่เป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นจากผิวหนัง ซึ่งเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ใหญ่

ชนิดของหูด

หูดที่พบเห็นกันโดยทั่วไป (Common wart) มีขนาดใหญ่ที่สุด บางครั้งอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2.5 เซนติเมตร ลักษณะเป็นตุ่มกลมแข็ง ผิวหยาบ อาจมีสีน้ำตาลหรือเทาๆ และอาจเชื่อมติดกับหูดอีกเม็ดหนึ่งได้ มักพบในเด็ก และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณมือ

หูด (Wart) - การรักษา กำจัด และป้องกันหูด

หูดอีกชนิดหนึ่งที่พบมากในเด็กได้แก่ หูดที่ฝ่าเท้า (Plantar warts or verrucas) โดยจะเกิดที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า ทำให้รู้สึกเจ็บเวลาเดิน หูดทั้งสองประเภทนี้มีผิวเรียบ มักมีขนาดเล็กและเกิดต่อกันเป็นกลุ่มบริเวณรอยเกา นอกจากนี้ยังมีหูดแบบเป็นติ่ง (Filiform warts) ซึ่งมีลักษณะเป็นติ่งเหนือเล็กๆยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และมีส่วนหัวแข็งมักเกิดบนบริเวณใบหน้าหรือลำคอ และอีกหนึ่งประเภท คือ หูดอีกชนิดหนึ่งเกิดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์หรือทวารหนัก (Anogenital warts)

การรักษาหูด

บางครั้งหูดอาจหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา แต่ส่วนใหญ่มักหายยากและแพร่กระจายเพิ่มขึ้น สำหรับหูดที่ฝ่าเท้า ให้ฝานหูดจนมีเลือดซิบแล้วปิดพลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิก 40% พอครบ 1 สัปดาห์ ก็ให้ฝานหูดซ้ำ แล้วปิดพลาสเตอร์ต่อไป ทำซ้ำทุกสัปดาห์จนกว่าจะหาย แต่ถ้าเป็นหูดที่ใบหน้า อวัยวะสืบพันธุ์ หรือทวารหนัก อย่ากำจัดเอง ควรปรึกษาและขอยาจากแพทย์

อย่าให้ยาถูกผิวส่วนอื่น โดยปิดบริเวณรอบๆหูดด้วยแผ่นปิดตาปลา ซึ่งจะเว้นช่องตรงกลางเอาไว้ จากนั้นทายาเฉพาะบนหูดแล้วปล่อยให้แห้ง ห้ามเกาหูดอย่างเด็ดขาดเพราะจะทำให้ลุกลามออกไปได้

ถ้ายาดังกล่าวไม่ได้ผล หรือมีอาการเจ็บปวด ให้รีบไปพบแพทย์ แพทย์อาจใช้ความร้อนจี้ ขจัดด้วยความเย็นโดยใช้ไนโตรเจนเหลว หรือใช้เครื่องมือขูดออก

การป้องกันหูด

อย่าแตะต้องหูด หากต้องใช้ห้องออกกำลังกาย ห้องน้ำ หรือสระว่ายน้ำสาธารณะ ให้ปิดหูดกับพลาสเตอร์แบบกันน้ำ เพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น แต่ทางที่ดีควรงดการใช้บริการสาธารณะจะดีกว่า.

Exit mobile version