Friday, 22 November 2024

วิธีการตรวจสอบก่อนซื้อรถยนต์มือสอง

การซื้อรถยนต์มือสองเป็นเรื่องเสี่ยง เพราะรถยนต์มือสองสภาพดีนั้นมีน้อย การตรวจสอบรถยนต์เบื้องต้นจึงช่วยลดอัตราเสี่ยงได้ โดยเฉพาะเมื่อซื้อรถจากเจ้าของเดิมโดยตรงซึ่งจะไม่มีการชดเชย หากพบว่ามีจุดบกพร่อง เราควรเปรียบเทียบราคาขายรถยนต์แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น และแต่ละปีที่ผลิต โดยใช้คู่มือซื้อขายรถยนต์มือสองเป็นตัวช่วย

ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

ถ้าหากเป็นรถที่มีการใช้งานน้อยหรือมีอุปกรณ์พิเศษกว่ารถยนต์รุ่นเดียวกัน เพื่อผ่านการเสียภาษีหรือตรวจสภาพรถยนต์ราคาอาจจะสูงกว่าปกติ ถ้าเราซื้อกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์มือสอง มักมีการรับประกันหลังการขายตามกำหนดเวลาหรือระยะทางให้ การรับประกันนี้อาจครอบคลุมถึงราคาอะไหล่และค่าบริการ หรือเฉพาะค่าอะไหล่เท่านั้น จึงควรตรวจสอบสัญญาการประกันให้ถี่ถ้วน

วิธีการตรวจสอบก่อนซื้อรถยนต์มือสอง

ถ้าไม่มีการรับประกัน ควรประเมินราคารวมส่วนที่ต้องซ่อมแซมด้วย ถ้ารถยนต์มีส่วนที่เสียหาย ผู้ขายควรหักค่าซ่อมออกจากราคาขายด้วย ถ้าเป็นไปได้ควรให้ผู้ที่มีความรู้เรื่องรถยนต์ไปตรวจดูสภาพของรถหรือไม่ก็จ้างช่างซ่อมรถยนต์ที่มีความรู้ให้ช่วยดูให้

ควรตรวจสภาพรถยนต์ในตอนกลางวัน ถ้าจะให้ดีควรเป็นวันที่อากาศแห้ง โดยใช้ไฟฉายส่องดูใต้ตัวถังเพื่อหารอยชำรุดหรือจุดที่โป๊สีไว้ อาทิเช่น สนิทบนแชสซี สภาพของยาง รอยน้ำมันรั่ว รอยฉีกขาดจากการเชื่อมตามข้อต่อต่างๆ สนิมหรือรอยรั่วของท่อไอเสีย และสนิมตรงจุดขึ้นแม่แรง

จุดอื่นๆที่ควรตรวสอบก่อนซื้อได้แก่

1.ตรวจดูว่าเพิ่งมีการตรวจเช็คเครื่องยนต์หรือไม่ เช่น น้ำมันเครื่องยังใสอยู่รึเปล่า?

2.ให้มองรถยนต์จากทางด้านหน้าห่างจากตัวรถประมาณ 6 เมตร ถ้ากันชนไม่ขนานกับพื้น ควรตรวจสอบระบบรองรับรถ

3.ตรวจสภาพระบบการสั่นสะเทือน โดยกดบริเวณมุมของรถยนต์แล้วปล่อยรถยนต์ไม่ควรดีดตัวกลับถึง 2 ครั้ง ถ้ามากกว่า 2 ครั้ง แสดงว่าควรเปลี่ยนโช้กอัพ (Shock Absorber) ให้ก้มลงตรวจหารอยน้ำมันรั่วจากโช้กอัพบริเวณใต้ซุ้มล้อหรือบังโคลน ถ้ารั่วให้เปลี่ยนใหม่

4.อย่าซื้อรถยนต์ที่มีรอยขึ้นสนิมมากๆ เพราะซ่อมยาก แต่ถ้าเป็นสนิมจุดเดียวเล็กๆสามารถซ่อมได้ นอกจากนี้ควรตรวจดูในรถ หาจุดที่น้ำอาจรั่วซึมเข้ามาและทำให้พื้นรถขึ้นสนิมได้

5.ตรวจสภาพยาง โดยดูจากดอกยาง

6.ลองหมุนพวงมาลัยไปมา อย่าให้เกินข้างละ 15 เซนติเมตร แล้วให้ผู้ช่วยที่คอยมองอยู่นอกรถร้องบอกเมื่อล้อเริ่มหมุน พวงมาลัยควรมีระยะหมุนฟรีก่อนล้อหน้าหมุนไม่เกิน 3.8 เซนติเมตร ถ้ามีเสียงเกิดขึ้นระหว่างหมุนพวงมาลัย อาจเกิดจากข้อต่อคันบังคับฉีก ถ้าข้อต่อฉีกมากควรเปลี่ยนชุดคันบังคับ

การทดลองขับ

ถ้าเป็นไปได้ ให้ลองขับไปไกลๆ เพื่อดูว่าเครื่องยนต์ทำงานเป็นปกติหรือไม่ และดูว่าขับสบายเพียงใด ตรวจสอบด้วยว่าประตูเปิดปิดง่ายหรือไม่ ถ้าขอบประตูไม่ตรง แสดงว่ารถคันนั้นอาจเคยเกิดอุบัติเหตุมาแล้ว

เครื่องยนต์ควรติดง่ายและเดินเครื่องเรียบ ถ้ามีไอเสียสีน้ำเงินขณะติดเครื่องยนต์ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าติดเครื่องแล้วควันยังอยู่ แสดงว่าเครื่องยนต์กำลังเผาไหม้น้ำมันเครื่องมากเกินไป ต้องยกเครื่องใหม่

ถ้าคลัตช์แข็งหรือเข้าเกียร์ยาก อาจต้องซ่อมใหญ่ชุดเกียร์หรือชุดส่งกำลัง สำหรับเกียร์อัตโนมัติ ถ้าเข้าเกียร์แล้วรถกระตุกเล็กน้อยถือว่าปกติ แต่ถ้ามีเสียงดังเกิดขึ้นควรนำไปตรวจสภาพ

ขณะขับรถยนต์ที่ความเร็ว 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เครื่องยนต์ควรเดินเรียบไม่สะดุด ถ้าหากเครื่องยนต์สะดุดหรือน็อกแสดงว่าแบริ่งอาจแตก

ให้ทดสอบเบรกด้วย ถ้าเบลกสมดุลทั้ง 4 ล้อ รถควรหยุดนิ่งอย่างนิ่มนวลเป็นเส้นตรง ล้อไม่ล็อกตาย และไม่เสียหลัก นอกจากนี้ให้ตรวจสอบระบบไฟ ไฟเลี้ยว กระจก น้ำฉีดกระจก ที่ปัดน้ำฝน สุดท้ายให้ตรวจดูยาง อะไหล่ แม่แรง และอุปกรณ์รับน้ำหนักล้อ

ถ้าซื้อรถยนต์จากเจ้าของเดิมโดยตรง ควรตรวจสอบเอกสารการขายให้ดี เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้ซื้อรถที่โจรกรรมมา หรือเป็นรถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด.

คำเตือน

รถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุเกิน 10 ปี ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ด้วย
Exit mobile version