Saturday, 27 April 2024

แอฟริกา : แหล่งกำเนิดเผ่าพันธุ์มนุษย์

แอฟริกา หรือ ทวีปแอฟริกา นั้นเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ว่ากันว่าทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ อีกด้วย เราไปดูข้อมูลกันเลย !

ตำนานมนุษย์แอฟริกา

เกือบเป็นที่จะแน่นอนแล้วว่าทวีปแอฟริกาเป็นต้นกำเนิดของมนุษยชาติ นักโบราณคดียังคงค้นพบความลับจากอดีตอันไกลโพ้นในช่วง 4 ล้านถึง 1.5 ล้านปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลานั้น สิ่งมีชีวิตคล้ายลิงใหญ่ที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาเริ่มมีรูปลักษณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ มนุษย์เพิ่งจะเข้ามาครอบครองยุโรปและเอเชียหลังจากที่ได้อาศัยอยู่ในแอฟริกามาแล้วเกือบหนึ่งล้านปี

แอฟริกา : แหล่งกำเนิดเผ่าพันธุ์มนุษย์,โครงกระดูก,มนุษย์โบราณ,มนุษย์, Lucy skeleton,โครงกระดูก ลูซี่
โครงกระดูกของ ‘ลูซี’ ขุดพบในเอธิโอเปีย ในปี 1976 มีอายุ 3.6 ล้านปี นับเป็นห่วงโซ่แรกๆในห่วงโซ่แห่งสายพันธุ์มนุษย์ (ภาพจาก images.squarespace-cdn)

เราพบหลักฐานของกิจกรรมแรกสุดของมนุษย์ในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมแก่วิถีชีวิตของคนพวกนี้ และภูมิอากาศยังช่วยเก็บรักษากระดูกและเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินเอาไว้ แหล่งที่สำคัญที่สุด คือ ฮาดาร์ ในประเทศเอธิโอเปีย คูบี ฟอรา ในเคนยา โครก เขาโอลดูไว ในแทนซาเนีย และสเติร์กฟองแตงในแอฟริกาใต้ มนุษย์รุ่นแรกๆ ไม่ได้อาศัยอยู่เฉพาะในแอฟริกาแถบนี้เท่านั้น แต่มีการค้นพบซากส่วนใหญ่เจอที่นั่น.

ว่ากันด้วยแอฟริกา

ต้นกำเนิดของมนุษยชาติอยู่ที่แอฟริกาทางใต้และตะวันออก เมื่อเริ่มกระจายไปสู่ทวีปอื่นๆนั้น มนุษย์ที่บรรพบุรุษของเรายืนตัวตรง รู้จักใช้ไฟ หุงหาอาหารและประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ได้แล้ว

นักประดิษฐ์รุ่นแรก

แม้โครงกระดูกของชาวแอฟริกันรุ่นแรกๆ มักพบในสถานที่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความหลากหลาย เราไม่รู้ว่ามนุษย์ยุคนั้นมีความแตกต่างทางกายภาพมากน้อยเพียงใด เช่น ความแตกต่างระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง แม้แต่ในชนกลุ่มเดียวกัน แต่ผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่า มีมนุษย์อยู่เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ ออสตราโลพิเธคัส (Australopethecus หรือ มนุษย์ลิงภาคใต้) ซึ่งสูญพันธุ์ไปในที่สุด และ โฮโม (Homo หรือ มนุษย์) ซึ่งเป็นต้นเผ่าพันธุ์มนุษย์ทุกเชื้อชาติ

ชาติพันธุ์แรกเริ่ม คือ โฮโม ฮาบิลิล (Homo habilis หรือ มนุษย์ที่ใช้มือประดิษฐ์สิ่งของ) อาจปรากฏขึ้นมาราว 2 ล้านปีก่อน และทิ้งร่องรอยเทคโนโลยีแรกเริ่มไว้ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินแบบง่ายๆ แต่วัตถุโบราณเหล่านี้ก็ยังไม่เผยให้เรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับมนุษย์ในยุคนั้นมากนัก นักโบราณคดียังพยายามหาหลักฐานว่ามนุษย์เหล่านี้มีการพัฒนาพฤติกรรมแบบมนุษย์ขึ้น เช่น รวมกลุ่มกันเป็นสังคม แบ่งปันอาหาร และวางแผนล่วงหน้า

แล้วในที่สุดก็เกิดกลุ่ม โฮโมอิเร็กตัส (Homoerectus) เข้ามาแทนที่ โฮโมฮาบิลิส โฮโมอิเร็กตัสเป็นมนุษย์เผ่าพันธุ์แรกที่กระจายออกไปนอกแอฟริกา ส่วนในแอฟริกา พวกเครื่องมือเครื่องใช้ ค่อยๆมีความซับซ้อนขึ้นเช่นเดียวกันกับในที่อื่นๆทั่วโลก ก่อนจะมีการประดิษฐ์เครื่องมือโลหะขึ้น เครื่องมือเหล่านี้ยังมีขนาดเล็กจนกลายเป็น “เครื่องมือหินขนาดจิ๋ว” ซึ่งเล็กเสียจนต้องใส่ด้านจับ มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ตัดและขูด เช่น หัวธนู และลวดหนาม คันธนูและลูกศร ก็อาจจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ของชาวแอฟริกา

เครื่องมือหินจิ๋วเหล่านี้ มีใช้กันแพร่หลายในแอฟริกา ในราว 20,000 ปีก่อน แต่อาจถือกำเนิดขึ้นทางใต้สุดของทวีป เมื่อราว 80,000 ปีก่อนหน้านั้น

รอยเชื่อมต่อของยุคสมัย

รอยเท้าที่แข็งเป็นหินในเถ้าภูเขาไฟ ในประเทศแทนซาเนีย,ปี 1978 บอกให้รู้ว่ามนุษย์เดินตัวตรงแล้ว เมื่อ 3.5 ล้านปีก่อน (ภาพจาก nutcrakerman)

โฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ (Homo sapiens sapiens) ซึ่งเป็นมนุษย์กลุ่มเดียวกับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เป็นผู้สร้างเครื่องมือหินขนาดจิ๋วของยุคแอฟริกาขึ้น เราไม่สามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าคนกลุ่มนี้มีที่มา มาจากไหน ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของคนกลุ่มนี้มาจากแอฟริกาใต้ มีอายุราวๆ 100,000 ปี

หลักฐานทางพันธุกรรมยืนยันว่า ฟอสซิลเหล่านี้อาจจะเป็นซากเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ปัจจุบันที่หลงเหลืออยู่ในโลก ในขณะที่มนุษย์เริ่มปรับตัวและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น มนุษย์ก็พร้อมจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้มากขึ้น

ฟอสซิลจากมนุษย์ยุคแรกๆ เป็นข้อพิสูจน์ว่า วิวัฒนาการของมนุษย์นั้นไม่ได้มาจากชาติพันธุ์สายเดียวกันเสมอไป.
(รูปจาก news.uchicago.edu)
ฟอสซิลมนุษย์ยุคแรก
(ภาพจาก i.pinimg)

ในช่วงระหว่างปี 10,000 ถึง 6,000 ปี ก่อนคริสตศักราช บริเวณที่ปัจจุบันนี้เป็นทะเลทรายสะฮารา เกิดความชุ่มชื้นขึ้น มีทะเลสาบและแม่น้ำลำธาร ในบริเบณที่เคยแห้งแล้งเกินกว่าจะมีผู้คนอาศัยอยู่ ในน้ำมีปลา อุดมสมบูรณ์จนมนุษย์อพยพเข้ามาตั้งที่อยู่อาศัย อยู่กันเป็นชุมชนกึ่งถาวร มีการทำกสิกรรมเกิดขึ้นในแถบนี้ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการวางรากฐานของวัฒนธรรมแอฟริกายาวนานในสมัยต่อๆมา.

Exit mobile version