Monday, 25 November 2024

10 สถานการณ์เมื่อเราลืมตัวจนซื้อสิ่งของที่ไร้ประโยชน์

10 สถานการณ์เมื่อเราลืมตัวจนซื้อสิ่งของที่ไร้ประโยชน์ : พวกเราทุกคนอาจเคยเจอกับสถานการณ์ที่เราเข้าไปในร้านขายของชำเพื่อซื้อขนมปังแต่กลับได้ของมาเต็มกระเป๋าด้วยอาหารที่แตกต่างกัน และเราโชคดีถ้าขนมปังเป็นอาหารเหล่านั้นมิฉะนั้นเราต้องกลับไปที่ร้านอีกครั้ง ทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้นกับเรากันนะ?

1.ปรากฏการณ์ดีเดอรอท
(Diderot effect)

ปรากฏการณ์ดีเดอรอท 
(Diderot effect)

ปรากฏการณ์ดีเดอรอท เป็นคำศัพท์อย่างนึง คือ เมื่อคุณซื้อสิ่งใหม่ แต่ก็ทำให้ของที่มีอยู่ชิ้นอื่น ๆ ของคุณดูแย่เมื่อเปรียบเทียบกัน ดังนั้นคุณจะต้องแทนที่มันด้วยสิ่งใหม่ๆ นี่เป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะทุกสิ่งใหม่จะเปลี่ยนเป็นของเก่าและจะต้องเปลี่ยนใหม่อีกครั้ง คล้ายกับการเสพติดสิ่งใหม่ๆนั้นเอง

ผลกระทบนี้ได้รับการตั้งชื่อตาม เดนิสเดอโรต์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เขาไม่เคยรวย แต่ครั้งหนึ่งเขาเคยได้รับเงินจำนวนมากและซื้อเสื้อคลุมสีแดงที่งดงาม เสื้อผ้าชิ้นนี้แตกต่างจากชุดอื่นๆ ของเขามากจนทำให้เขาต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเก่าทั้งหมดของเขาเป็นชุดใหม่ยกตู้

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

ก่อนที่จะทำการซื้อ ลองเข้าใจว่าคุณเชื่อมโยงความปรารถนาและความคาดหวังไว้กับมันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น คุณต้องการซื้อสมาร์ทโฟนเพื่อเชื่อมต่อและทำงานมากกว่าเดิมหรือไม่ หรือเพราะคุณใฝ่ฝันที่จะได้รับการโปรโมตและรับรายได้มากขึ้น จะมีประสิทธิภาพมากกว่าหรือไม่ ในการพิจารณาทัศนคติที่มีต่องานของคุณก่อน.

2.ความอยากเด่น
(The snob effect)

เมื่อคุณซื้อสิ่งที่คนอื่นก็ใช้มัน จนทำให้รู้สึกว่าไม่โดดเด่น จนบางครั้งคุณยอมซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นให้กับตัวเอง เพราะไม่ต้องการที่จะซ้ำกับใคร หลายคนชอบที่จะเป็นศูนย์กลางของความสนใจและอวดความใหม่ของชุดเสื้อผ้าที่ตัวเองสวมใส่โดยไม่นึกถึงความจำเป็น ผลของพฤติกรรมนี้จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองเข้าไปยืนอยู่ในไฟแก๊ส (ไฟที่ใช้สำหรับฉายตัวละครบนเวทีสมัยก่อน)

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

ทำลิสรายการหัวข้อที่คุณเก่งหรือถนัด และเรื่องที่คุณภาคภูมิใจ อาจจะเป็นเรื่องสั้นๆ คุณไม่ต้องกังวล คุณเองก็มีของดีอยู่ในตัว การเลือกซื้อเสื้อผ้าไม่ใช่วิธีเดียวที่จะดึงดูดความสนใจจากคนอื่นๆ มันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นและเราไม่ควรฟุ่มเฟือยไปกับมัน.

3.ผลของสมัยนิยม
(Bandwagon Effect)

ปรากฎการณ์นี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความอยากเด่น มันเกิดขึ้นเมื่อมีคนซื้อสินค้าเพราะเป็นสินค้าทันสมัยและทุกคนต่างก็มีสินค้าตัวนั้น บางครั้งบางสิ่งบางอย่างเหล่านี้อาจไม่เหมาะกับคุณหรือไลฟ์สไตล์ของคุณ แต่คุณยังคงซื้อให้เป็นเทรนด์เหมือนกับคนอื่นๆ

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

ก่อนที่คุณจะซื้อให้ถามตัวเองว่า“ ทำไมฉันถึงต้องการที่จะซื้อมัน” บางทีคุณอาจชอบสิ่งนี้และต้องการมัน หรือบางทีคุณอาจตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคนอื่นก็เป็นได้.

4.ซื้อของเผื่ออนาคต
(Items for the future)

คนชอบคิดอยู่แต่ในเชิงบวก นั่นเป็นเหตุผลที่บางครั้ง เราซื้อเสื้อผ้าสำหรับอนาคต เช่นกระโปรงที่มีขนาดเล็กกว่า 2 ขนาดเพราะเราคิดว่ามันจะกระตุ้นให้เราลดน้ำหนักหรือรองเท้าสำหรับคู่เดทในฝันของเรา แต่เราดันไม่มีแม้แต่คนสำคัญข้างกาย

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

โปรดจำไว้ว่าการซื้อเสื้อผ้าเผื่อสำหรับอนาคตนั้น จะไม่ทำให้คุณผอมเพรียวหรือน่าดึงดูดยิ่งขึ้น อย่าลืมว่า คุณต้องทำงานด้วยตัวเองเพื่อให้คุณสามารถใช้เงินซื้อของเหล่านี้ได้ อย่าพยายามล่วงรู้หรือกำหนดอนาคตที่ยังมาไม่ถึงเลย มันสิ้นเปลืองซะเปล่า.

5.การซื้อของแก้เครียด
(Impulse buying)

หากวันใด คุณมีวันที่เลวร้ายและตัดสินใจที่จะแวะไปที่ร้านโปรดหรือซื้อของบางอย่าง เพราะคุณได้รับโบนัสเล็กน้อยในที่ทำงาน แต่ความสุขจากการซื้อเช่นนี้จะผ่านไปอย่างรวดเร็วในขณะที่ของที่คุณซื้อมาอาจจะถูกทิ้งลืมไว้เนื่องจากคุณอาจจะกลับมาเครียดหรือกังวลเหมือนเดิม หรือมันอาจจะทำให้คุณอารมณ์เสียเพราะคุณใช้เงินไปกับมันมาก

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

แรงกระตุ้นการซื้อจากความเครียดนั้นเป็นผลมาจากการขาดอารมณ์เชิงบวก ควรพยายามหากิจกรรมทำเพื่อที่จะช่วยให้คุณต่อสู้กับอารมณ์ที่ไม่ดีจากความเหนื่อยล้าและความเครียด.

6.ความสะดวกสบายของร้านค้า
(Subliminal retail tricks)

เพลงไพเราะ สีอบอุ่นและกลิ่นแบบสบายๆ ของพวกร้านค้าเหล่านั้น – สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเรา เมื่อเราเข้าไปในร้าน แม้ว่าเราอาจไม่สงสัยอะไรเลย ภายในอบอุ่นและสะดวกสบายและหน้าต่างมักจะถูกปกคลุมจนทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย จนหลงลืมเวลาและเริ่มซื้อของในร้านเรื่อยๆ

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

คุณควรออกไปช็อปปิ้งในขณะที่คุณไม่รู้สึกหิว หรือสวมหูฟังพร้อมเปิดเสียงดนตรี นั่นเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดความน่าสนใจในเทคนิคการตลาดเหล่านี้.

7.สินค้าลดราคาและพวกของโปรโมชั่น
(Sales and promotions)

นี่คือหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ของผู้คน พวกเขามักจะซื้อสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการจากร้านค้า ตัวอย่างเช่น ทางร้านเสนอสินค้า 3 รายการให้เราในราคาเพียง 2 รายการ (ซื้อ 3 จ่าย 2) หรือ เสนอส่วนลด 50% ที่สามารถใช้ได้ในช่วงหนึ่งวันเท่านั้น ดูเหมือนมันจะคุ้มค่ามากใช่ไหมล่ะ และคนส่วนใหญ่อย่างเราๆก็ตัดสินใจซื้อสิ่งที่เราไม่ต้องการจริงๆจากกลยุทธ์เหล่านี้

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

จำกัดพื้นที่ที่คุณเก็บสิ่งของไว้ – จัดสรรตู้เสื้อผ้าแบบพิเศษสำหรับเสื้อผ้าของคุณทั้งหมดและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันไม่ได้อัดแน่นจนไป จนซ้ำกัน หมั่นตรวจสอบถึงสิ่งของ เสื้อผ้าของคุณว่ามันมีมากพออยู่แล้ว ที่คุณจะไม่ซื้อมันมาเพิ่มอีก.

8.การซื้อสินค้าราคาถูกแต่ไร้คุณภาพ
(Cheap goods)

เพื่อเป็นการประหยัดเงินเราอาจซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าของสินค้าที่เราต้องการจริงๆ แต่บางครั้งประโยชน์เหล่านี้เป็นภาพลวงตา กางเกงยีนส์ที่ดีสามารถสวมใส่ได้เป็นเวลาหลายปีในขณะที่กางเกงยีนส์ราคาถูกอาจจะสึกหรอเร็วๆ นี้และทำให้เราต้องซื้อตัวใหม่มาแทนอีก

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

มีคำพูดว่า“ ซื้อดีหรือซื้อสองครั้ง” ด้วยการประหยัดเงินในขณะนี้คุณอาจใช้จ่ายมากขึ้น ในการซ่อมแซมและเปลี่ยนทดแทนในอนาคต เมื่อซื้อสินค้าชนิดใดก็ตามให้ใส่ใจกับคุณภาพแทนราคาป้าย มันจะช่วยคุณได้มากกว่านะ.

9.ถูกโน้มน้าวใจจากผู้ขาย
(Persuasive shop assistants)

ผู้ขายหลายคนรู้วิธีที่จะชนะความไว้วางใจจากลูกค้า พวกเขาอาจทำให้เราเชื่อใจว่ารายการหนึ่งไม่ดีจริงๆในขณะที่อีกรายการหนึ่ง“ ดีกว่ามาก” ผู้ขายรู้ถึงคุณภาพของสินค้าทั้งหมดและพวกเขาจะรู้ถึงสิ่งที่คุณกำลังคิด และทำให้คุณต้องซื้อเสื้อยืดถึง 10 ตัวแทนที่จะเป็นเสื้อยืดเพียงตัวเดียวที่คุณวางแผนมาเพื่อจะซื้อจริง.

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

จำไว้เสมอว่าคุณตั้งใจจะซื้ออะไร ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ดีที่คุณกำลังค้นหาจากโลกออนไลน์ล่วงหน้าเพื่อถามคำถามให้น้อยลง ผู้ขายจะหันไปหาลูกค้าที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะซื้อสินค้าชิ้นไหน เพราะคนเหล่านี้จะโน้มน้าวใจให้ซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น อีกวิธีคือไปซื้อของกับเพื่อนเพราะมันจะทำให้ผู้ขายโน้มน้าวใจได้ยากกว่าเพราะจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปเพื่อแย้งผู้ขายได้เสมอ.

10.ความกลัวของเรา
(Our fears)

เรามักจะกังวลหรือกลัวด้วยเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลนั่นคือวิธีการทำงานของจิตใจของเรา เมื่อคุณผ่านรายการสินค้าที่คุณไม่ได้วางแผนไว้ว่าจะซื้อ ทำให้คุณอาจคิดว่าครั้งต่อไปคุณอาจไม่มีเงินมากพอสำหรับการซื้อในครั้งนี้ ดังนั้นในที่สุดคุณจะต้องตัดสินใจซื้อมันทันที หรืออาจมีเหตุผลอื่นที่เป็นไปได้ คือถ้าพ่อแม่ของคุณเคยพูดว่า “ไม่” กับคุณมากเมื่อคุณยังเป็นเด็ก

คุณจะต่อสู้กับสิ่งนี้ได้อย่างไร หากมันเกิดขึ้นกับคุณ ?

ลองนึกภาพว่าคุณต้องย้ายไปประเทศอื่น คุณจะทำอะไรได้ไม่มากใช่มั้ย คุณจะขนมันไปด้วยทั้งหมดได้อย่างไร? อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ และอะไรคือส่วนที่เหลือที่ไม่จำเป็น คุณควรที่จะใช้จ่ายเงินในการเดินทางหรือกิจกรรมที่น่าสนใจจะดีกว่าไหม? ซึ่งมันจะทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นและสดชื่นขึ้นจากเดิมด้วยนะ.

ข้อมูลและรูปภาพจาก : Bright Side

Exit mobile version